เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมการสะกิด กับ ความคิดพรุ่งนี้ฉันจะรวย

Main Article Content

Thittita Yommana
Kamolchnok Voradech
Yanisa Padde
Phatpanat Suntornmadcha
Suthiwat Phadkam
Onpreeya Jantree

บทคัดย่อ

สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากคนบางกลุ่มคิดว่าการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ การซื้อโอกาสที่ตนเองจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ในชั่วพริบตาหรือมองอีกมุมหนึ่งคือการซื้อ ‘ความหวัง’ ที่มีโอกาสเพียง 1 ในล้าน ถึงแม้ว่าผู้เล่นจะทราบดีว่าความน่าจะเป็นในการถูกนั้นจะต่ำมาก ผู้เล่นยังคงมีพฤติกรรมการซื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งขัดกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อว่ามนุษย์จะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและเลือกสิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดให้แก่ตนเอง  งานวิจัยฉบับนี้จึงเริ่มต้นศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่มีพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งเป็นประจำ จำนวน 170 คน นอกจากการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลแล้ว งานวิจัยชิ้นนี้ได้มีการนำหลักการสะกิด (Nudges) จากวิชาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มาใช้เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ลดลงโดยปราศจากการบังคับด้วยการทดลองแบบติดตามผล เป็นระยะเวลา 90 วัน ในการทดลองผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิด Loss Aversion โดยการให้ข้อมูลข่าวสารด้านลบเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาล (Bad news) แก่กลุ่มทดลองแรก และแจ้งเตือนทุนสะสมในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลแก่กลุ่มทดลองที่สอง ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นการสะกิดด้วยการให้ข้อมูลชีวิตที่ดีหลังเกษียณอายุ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มคนที่ซื้อมาก การให้ข้อมูลข่าวสารด้านลบเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาลจะกระตุ้นให้กลุ่มทดลองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีที่สุด ส่วนในกลุ่มคนซื้อน้อย การให้ข้อมูลการแจ้งเตือนต้นทุนสะสม จะกระตุ้นให้กลุ่มทดลองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alvin C. Burns, Peter L. Gillett, Marc Rubinstein, and James. W. Gentry. (1990). An Exploratory Study of Lottery Playing, Gambling

Addiction and Links to Compulsive Consumption. Retrieved from https://www.acrwebsite.org/volumes/9828/volumes/v17/NA-17

Ariyabuddhiphongs, V., & Chanchalermporn, N. (2007). A test of social cognitive theory reciprocal and sequential effects: hope,

superstitious belief and environmental factors among lottery gamblers in Thailand. Retrieved from

https://www.researchgate.net/publication/6649081

Maria João Kaizeler and Horácio Crespo Faustino. (2008). Demand for Lottery Products: A cross-country analysis. Retrieved from

https://www.repository.utl.pt/bitstream/10400.5/2357/1/wp332008.pdf

Mark D. Griffiths and Richard Wood. (2008). The psychology of lottery gambling. Retrieved from

https://www.researchgate.net/publication/261580001_The_psychology_of_lottery_gambling

Mark Lutter, Daria Tisch, Jens Beckert. (2018). Social Explanations of Lottery Play: New Evidence Based on National Survey Data.

Retrieved from https://pure.mpg.de/rest/items/item_2550499 /component/file_3186317/content

Rogers, Paul. (1998). The cognitive psychology of lottery gambling: A theoretical review. Retrieved from

https://link.springer.com/article/10.1023/A:1023042708217

Thaler, R. H., & Sunstein, C. R. (2009). Nudge: Improving Decisions about Health, Wealth, and Happiness. New York: Penguin Books.

จิราพัชร สุทธิ. (2562). ความสัมพันธ์ของลักษณะเฉพาะบุคคลกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นหวยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตจังหวัด

ปทุมธานีและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายการซื้อหวยเป็นเงินออมในระยะยาว. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ธัญบุรี. สืบค้นจาก https://www.thaiscience.info/Journals /Article/ RDSS/ 10991956.pdf

เฉลิมพงษ์ พงษ์ประชา. (2558). มิติเชิงสังคมของพฤติกรรมการเล่นหวยใต้ดินในประเทศไทย. วารสารการบริหารท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นจาก

https://so04.tci- thaijo.org/index.php/colakkujournals/article

ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ และ ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2557). บทบาทของความเชื่อโชคลางต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินของผู้บริโภคชาว

ไทย. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/27388

นวลน้อย ตรีรัตน์. (2564). รายงานสถานการณ์การพนันในสังคมไทย ปี 2564. สืบค้นจาก

https:// www.gamblingstudy-th.org/issues_topic_1/376/1/1/cgs-national-survey-report-64/

ปภัสสร มัสการ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล กรณีศึกษา : เขตอำเภอเมืองสกลนคร

จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นจาก

https://ethesis.lib.ku.ac.th/dspace/bitstream/123456789/735/1/6245350123.pdf

พรเพ็ญ วรสิทธา. (2553). พฤติกรรมการเล่นหวยและความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออมระยะยาว. สืบค้นจาก https://so04.tci-

thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/2933

เมธ์วดี วิทยานุ. (2560). พฤติกรรมการเลือกซื้อและทัศนคติต่อการจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. สืบค้นจาก

https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/ 123456789/2871

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ. (2564). โครงการศึกษาสถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนันในประเทศไทยประจำปี 2564. สืบค้นจาก

https://www.gamblingstudy-th.org/document_book/169/1 /3/cgs-national-survey-2564/

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. (2564). Gaming Addiction Behavior, Virtual Goods Purchases in Game, Loot Boxesand Gambling in Online

Game of Thai Adolescent. สืบค้นจาก file:///C:/Users/PEAR/Downloads/wassanaw,+%7B$userGroup%7D,+2.natta20-38.pdf

สิริวรรณ อวยชัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของผู้บริโภค อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. สืบค้นจาก

http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/12453

สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก

http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/book_12_64.pdf

แสงระวี อังสุโวทัย. (2562). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและความต้องการผลิตภัณฑ์การออมที่เชื่อมโยงกับเงินรางวัลของพนักงานสานักงานในเขต

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:174900#

เอกรินทร์ จันทร์พิมาย. (2565). ความจริง ความหวัง และความศรัทธาของการซื้อลอตเตอรี่ในชาวบ้าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.