การสร้างสรรค์นาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม Creative Performing Arts in High-School Folk Song Bands of Mahasarakham Province

Authors

  • ยุวดี พลศิริ
  • พีระ พันลูกท้าว

Abstract

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์นาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาจังหวัดมหาสารคามในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์
ประกอบการสร้างสรรค์นาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารองค์ประกอบการสร้างสรรค์นาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งและข้อมูลภาคสนาม จากโรงเรียนที่ได้รับรางวัลวงดนตรีลูกทุ่งดีเด่นคือ โรงเรียนผดุงนารี โรงเรียนวาปีปทุม และโรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ ใชเ้ครื่องมือเก็บรวบรวมขอ้ มลู 3 แบบ คือ 1) แบบการสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์ครูผู้ควบคุมวงดนตรีจำนวน 6 คน กลุ่มผู้รู้จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 12 คน กลุ่มผู้ออกแบบท่าเต้นจำนวน 4 คน และกลุ่มผู้สนับสนุนหรือกลุ่มบุคคลทั่วไปจำนวน 15 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียน 2) คำถามในการสนทนากลุ่ม 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรม การปฏิบัติของครูกรณีศึกษาและสภาพโรงเรียน นำข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้องด้วยเทคนิคแบบสามเส้า วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาจังหวัดมหาสารคามประกอบไปด้วย ศิลปะทางดนตรี ศิลปะทางการร้องเพลง ศิลปะทางการเต้น และศิลปะในการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การแสดงที่ปรากฏในการแสดงวงดนตรีลูกทุ่งปัจจุบันเป็นการแสดงของนาฏศิลป์ประยุกต์ที่เกิดจากการนำการแสดงนาฏศิลป์ 2 สกุล ได้แก่ ท่ารำนาฏศิลป์ไทยและท่าเต้นบัลเลต์ (Ballet) มาปรับใช้ให้เกิดเป็นกระบวนท่าเต้นที่ผ่านการทดลอง ซึ่งการสร้างสรรค์จะประสบความสำเร็จเป็นผลงานได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบการสร้างสรรค์นาฏกรรม อันประกอบด้วย รูปแบบการแสดง, การคัดเลือกบทเพลง, การคัดเลือก
นักร้อง, การคัดเลือกนักดนตรี, การคัดเลือกแดนเซอร์ (Dancer), รูปแบบการสร้างสรรค์ท่าเต้น, รูปแบบการแปรแถว, การออกแบบ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบท่าเต้น, สถานที่ฝึกซ้อมการแสดง นอกจากนั้นยังต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ประสบการณ์ของศิลปิน อันเกิดความชำนาญจากการฝึกฝนฝีมือที่สะสมมาเป็นตัวกำหนดรูปแบบการแสดงวงดนตรีลูกทุ่ง จึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีความงามอันเยี่ยมยอดได้ คำสำคัญ : กิจกรรม; การสร้างสรรค์; วงดนตรีลูกทุ่ง; มัธยมศึกษา; ศิลปะการแสดง

Abstract

Creative Performing Arts in High-School Folk Song Bands of Mahasarakham Province The purpose of this research was to study the creative performing arts in high-school folk bands in Mahasarakham province. Written documents and fieldwork data were gathered for this study. The research design was qualitative method used across case studies between schools receiving the outstanding folk song band award. The data were collected by formal, informal, and in-depth interviews, participant and non-participant observation, through the focus group technique and documentary analysis. Research instruments consisted of
1) interview case studies with teachers who controlled the activities, administrators, students, and parents, 2) questions and discussion in a focus group and, 3) observation of forms of activity organization, case studies practice, and the context of the schools. Data were checked for their accountability with a triangulation technique, and analyzed in accordance with the given objectives, and presented in a descriptive form. The research concluded that the creative performing arts in High-School Folk Song Bands in Mahasarakham Province made it possible to reach adults and young people in Mahasarakham. This could be used to spread the arts and to help in cultural crisis solving. Education in the creative performing arts can help to foster an interest, among the people, in the refined things, which our ancestors have developed over time with their valuable indigenous knowledge. Keyword : Activity; Creative; Folk Song Band; High-School; Performing Arts

Downloads

Published

2017-10-19

How to Cite

พลศิริ ย., & พันลูกท้าว พ. (2017). การสร้างสรรค์นาฏกรรมในวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม Creative Performing Arts in High-School Folk Song Bands of Mahasarakham Province. Chophayom Journal, 28(2), 240–247. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101847

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์