The Construction of Learning Activity Package for Mathematics Subject Group on the Decimal Topic by Using Game Activity for Pathomsuksa 6 Students
Keywords:
ชุดกิจกรรม, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทศนิยม, กิจกรรมเกมAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมโดยใช้กิจกรรมเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการใช้กิจกรรมเกมทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแก้ว จังหวัดจันทบุรี ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 70 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแก้ว จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมโดยใช้กิจกรรมเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ แผนจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมจำนวน 15 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดเจตคติต่อการใช้กิจกรรมเกมทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ ชุดกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้กิจกรรมเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้กิจกรรมเกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้สูตร t – test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมโดยใช้กิจกรรมเกม สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.85 / 80.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และเจตคติต่อการใช้ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ซึ่งอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : ชุดกิจกรรม, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทศนิยม, กิจกรรมเกม
References
ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,
สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2542). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ. ม.ป.พ.
โชติวรรณ วิเศษสิงห์. (2551). ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์เรื่อง การสร้างรูปสี่เหลี่ยมและการหาพื้นที่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนอนุบาลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดวงชีวัน เฉยปัญญา, รัตน์ติพร อุดคำมี และวุฒิพร แก้วกองทรัพย์. (2552). การพัฒนาชุด
กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ
และการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
สาขาวิชาหลักสูตร และการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิศนา แขมมณี.(2551). รูปแบบการเรียนการสอน ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติธรรม จันทร์แจ่ม. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเคมี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน
จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง
ประภัสสร จันทร์กอง, วิชาพร ศรีบุโฮม และสุกลวัตร พรรณแสง. (2551). การพัฒนาชุด
กิจกรรม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา.คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ศรัลยา วงเอี่ยม. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิรินทิพย์ คำพุทธ. (2548). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ STAD เรื่อง แบบรูป
และความสัมพันธ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขา การมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ มูลคํา. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Farkas, R.D. (2002). “Effect(s) of Traditional Versus Learning – styes Instructional
Methods on Seventh – Grade Student Achievement, Attitude, Empathy, and Transfer of Skills Through a Study of the Hoiocauas,” Dissertation Abstracts International. 63(4) : 73 – A ; October.
Mulcahy, Candace A. (2007). The effects of contextualized Instructional Package on
the areaand perimeter performance of secondary students with emotional and Behavioral disabilities. Maryland: University of Maryland, College Park.
Powell. (2003). “ A Comparison of Student Outcomes with and without Teacher
Facilitated Computer – Based Instruction.” Dissertation Abstracts International. 40(2003) : 183 – 194.
Reese, Richard L. (1977). “A Comparative Study of the Lecture Method of
Instructive with the Lecture Method Used in Conjuction with Mastery Learning in Teaching Intermedials
Algebla at a Florida Junior Collage” Dissertation Abstracts International
Satterfielf, Melanic. (2001). Geomter’s Skeicbpad : Single – User Package. Version .
DissertationAbstracts International [Online]. Available :https://vnweb.hwwilsonweb.com. (April 8).
Skinner, B.F. (1984). About behaviorism. New York: McGraw-Hill Book
William, Weber, B.Jr. (1999). “Connecting Concepts of Number to Mental Computation
Procedures : An Examination of Middle Grade Students’ Achievement and Thinking.” Focus on Learning Problems in Mathematics. 21(4) : 40 – 62.