การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ในการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานและตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้5 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

Authors

  • อัมวิกา ทวยจันทร์
  • ทมาวดี ปาสาจะ

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานและวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 92 คนมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1 จำนวน 47 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐาน และกลุ่มที่2จำนวน 45 คน เรียนแบบผสมผสานตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์ 3 ประเด็น คือFacebook : สื่อสร้างสรรค์หรือบ่อนทำลาย การสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และ การซื้อขายไข่มนุษย์เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว สำหรับใช้การเรียนแบบผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานและตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้5 ขั้น อย่างละ 3 แผนใช้เวลาเรียนแผนละ3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการโต้แย้ง จำนวน 4 ฉบับ ฉบับละ 4 ข้อ และ 3)แบบทดสอบวัดการคิดวิพากษ์วิจารณ์ จำนวน 40 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต การนิรนัย การอุปนัย และการระบุข้อตกลงเบื้องต้นสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ Paired t-test และ F-test (Two - way MANCOVA และ Two -way ANCOVA)

Downloads

How to Cite

ทวยจันทร์ อ., & ปาสาจะ ท. (2016). การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดวิพากษ์วิจารณ์ในการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนผสมผสานตามวิธีปัญหาเป็นฐานและตามวิธีวัฏจักรการเรียนรู้5 ขั้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์. Chophayom Journal, 27(2), 139–149. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73499

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์