วัฒนธรรมองค์กรกับความสุขในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ชลิตา แดงนาวา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ยกสมน เจ๊ะเฮง วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วัฒนธรรมองค์กร, ความสุขในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

ปัจจุบันองค์กรภาครัฐประสบปัญหาการลาออก และการโอนย้ายของข้าราชการเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสังคมโลกเปิดกว้างมากขึ้น อาชีพข้าราชการจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลเหล่านี้ได้ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลวัฒนธรรมองค์กรกับความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดของตัวอย่างด้วยการใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 300 คน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการจัดส่งคิวอาร์โค้ดแบบสอบถามทางอิเล็กทรอนิกส์ (Google Form) โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการโครงสร้าง พัฒนาแบบสอบถามผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบแบบสอบถามจำนวน 30 ชุด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นรวมของตัวแปรวัฒนธรรมองค์กร เท่ากับ 0.889 ความเชื่อมั่นรวมของตัวแปรความสุขในการทำงาน เท่ากับ 0.838 และความเชื่อมั่นรวมของตัวแปรความผูกพันต่อองค์กร เท่ากับ 0.865
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างของวัฒนธรรมองค์กรและความสุขในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังปรับปรุงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าอัตราส่วนไคสแควร์สัมพันธ์ (equation/df) เท่ากับ 1.75 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับ ความสอดคล้อง (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนรากกำลังสองเฉลี่ย (RMSEA) เท่ากับ 0.05 ค่าดัชนีที่แสดงการยอมรับของโมเดล (TLI) เท่ากับ 0.98 และค่าดัชนีความสอดคล้องสัมพันธ์ (NFI) เท่ากับ 0.98

คำสำคัญ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วัฒนธรรมองค์กร, ความสุขในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร

References

กฎชกร บุนนาค และทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2562). การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค กับความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 56-67.

กมลชนก ประสิทธิ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความผูกพันของพนักงานธนาคาร ออมสินในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 5(1), 102-114.

กุสุมา ศรีแย้ม. (2563). ความสัมพันธ์ของระดับความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในเขตภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

เกียรติยศ ระวะนาวิก และ ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2565). การบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(3), 123-136.

จุฑามาส ตั้งจิตบำรุง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับลักษณะวัฒนธรรมองค์การกับทัศนคติเกี่ยวกับความสุขและแนวทางการสร้างความสุขในการทำงาน กรณีศึกษาพนักงานประจำสำนักงานโรงงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ชฎาภรณ์ เพียยุระ. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อ องค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ชิดชนก ศรีรักษ์และ ปัญญา ศรีสิงห์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกและโอนย้าย ของข้าราชการกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2), 308-322.

ณัฏฐนันท์ อ่ำขวัญยืน และจิราพร ระโหฐาน. (2566). ความยุติธรรมในองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1014-1028.

ธัญพิชชา สามารถ. (2564). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พรรณปพร สื่อกลาง สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และ ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2564). จิตวิญญาณในการทำงานและการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันในงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(81), 81-91.

มาศญา ศรีสุข. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้ารับหรือไม่รับราชการของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาที่มีวิชาชีพเฉพาะกรณีศึกษา สาขาวิชาบัญชีและการเงิน. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

วรรณภา ศรีมุกดา และ ลัดดาวรรณ ณ ระนอง. (2564). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุข ในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วารสารราชพฤกษ์, 11(3), 83-91.

ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2566). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 14(1), 89-109.

ศุภาพิชญ์ อินแตง. (2565). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกาญจนดิษฐ์. (2562). จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอกาญจนดิษฐ์. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2567, จาก https://district.cdd.go.th/kanchanadit/about-us/ประวัติความเป็นมา/.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2567). การบริหารงานบุคคล. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2567, จาก https://www.surat-local.go.th/frontpage.

สุกริน ทวีสุต. (2562). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรเทศบาลนครหาดใหญ่. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

Akpa, V. O., Asikhia, O. U., & Nneji, N. E. (2021). Organizational culture and organizational performance: A review of literature International. Journal of Advances in Engineering and Management, 3(1), 361-372.

Alijanzadeh, M., Kalhor, R., & Joftyar, M. (2018). Organizational culture in Qazvin University of Medical Sciences: based on the Denison Model. Int J BioMed Public Health, 1(4), 187-192.

Denison, D. R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York, NY: John Wiley & Sons.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating Structural Equation Models with Unobservable and Measurement Error. Journal of Marketing Research. 34(2), 161-188.

Hair, J. F. (Jr.) Hult, G. T. M., Ringle, C. M., and Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural equation Model ing (PLS-SEM). California, CA: Sage Publications.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis.7 th ed. Upper Saddle River, NJ : Prentice-Hall.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Mowday, R., Porter, L. & Steers, R. (1982). Employee Organization Linkages: The Psychology of Commitment, Absenteeism, and Turnover. New York: Academic Press.

Saiga, E., & Yoshioka, S. I. (2021). Factors Influencing the Happiness of Japanese Nurses: Association with Work Engagement and Workaholism. Kawasaki J Med Welf, 26(2), 81-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

How to Cite

แดงนาวา ช., & เจ๊ะเฮง ย. (2024). วัฒนธรรมองค์กรกับความสุขในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารช่อพะยอม, 35(2), 144–164. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/275337