การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดในการร่างรูปแบบโดยตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 นำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ได้จากการสังเคราะห์ สร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มงานบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 260 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา วิเคราะห์หาความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) นำมาเป็นแนวทางในการศึกษาสภาพที่ยอมรับและแบบวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น PNI
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ได้จากการสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 43 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดนโยบายและแผน มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาครู มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การนิเทศและประเมินผล มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 การสร้างเครือข่ายแนวร่วมพัฒนา มี 6 ตัว บ่งชี้ และ องค์ประกอบที่ 7 การวิจัยและพัฒนา มี 7 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.40, S.D. = 1.04) และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (
= 4.49, S.D. = 0.67) โดยเรียงลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการสร้างเครือข่ายแนวร่วมพัฒนา ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการนิเทศและประเมินผล ด้านการพัฒนาครู และด้านการกำหนดนโยบายและแผน ตามลำดับ คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ.
ทองอินทร์ วงศ์โสธร และ ธิติรัตน์ วิศาลเวทย์. (2549). “แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวางแผน”
ประมวลสาระชุดวิชานโยบายและการวางแผนการศึกษา. นนทบุรี : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร
Executive Journal, 3(2), 49-56.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์หรือ
สะเต็มศึกษา. วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย,
19, 3-14.
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา : หลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม).
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มิตรสยาม.
สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). คู่มือจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
สุทธิดา จำรัส. (2560). สะเต็มศึกษาบนเส้นทางวิชาการรับใช้สังคม : จุดเปลี่ยนการเรียนรู้สู่อนาคต.
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 34-47.
สุวิมล ว่องวานิช. (2549). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (2560). รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 27. สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 กันยายน 2560, จาก https://www.secondary27.go.th .
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัย เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัด
การศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 มกราคม 2561, จาก
https://backoffice.thaiedresearch.org .
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 16 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.
secondary11.go.th/2016.
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. (2539). แนวทางการนิเทศการศึกษา กรมสามัญศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา.
Dejarnette. (2012). America’s children: providing early exposure to STEM (science,
technology, engineering and math) initiatives. Education, 133(1), 77–84.
Harris, Ben M. (1985). Supervisory behavior in education. 3rd ed. Englewood Cliffs :
Prentice-Hall.
Miner,John B. (1979). The management process : theory, research and practice. New
York : Macmillan Publishing Company, Inc.
President’s Council of Advisors on Science and Technology. (2010). Report to the
President “Prepare and Inspire: K-12 Education in Science, Technology,
Engineering, and Math (STEM) for America's Future. Retrieved 12 September
2017. from https://stelar.edc.org /publications/.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York :
Harcourt Brace and World.
Saylor. J.G. & Alexander, W.M. . (1981). Curriculum planning for better teaching and
learning . 4 th ed. New York : holt,Rinehart and Winston.