การศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามต่อกระบวนการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ภาคตะวันตกเฉียงใต้

ผู้แต่ง

  • อัญชนา ทองกระจาย อาจารย์ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหาสารคาม
  • Qin Qi อาจารย์ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหาสารคาม

คำสำคัญ:

หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน, กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน, ผู้เรียนภาษาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต่อกระบวนการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ภาคตะวันตกเฉียงใต้ 6 ด้านคือ ด้านคุณลักษณะของครูภาษาจีน ด้านการวิเคราะห์หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ด้านบทบาทของผู้สอน ด้านบทบาทของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อในการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลจำแนกตามเพศและผลการเรียนเฉลี่ย ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นสาขาวิชาภาษาจีชั้นปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 79 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา ประกอบด้วย เพศ และผลการเรียนเฉลี่ย ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่
3 ต่อกระบวนการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ภาคตะวันตกเฉียงใต้ จำนวน 6 ด้าน คือ คุณลักษณะของครูภาษาจีน การวิเคราะห์หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร บทบาทของครู บทบาทของผู้เรียน การใช้สื่อในการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (IndependentSamples) และ F-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า1.นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีความคาดหวังต่อกระบวนการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความคาดหวังอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ด้านการวัดและประเมินผล ด้านบทบาทของผู้สอน ด้านคุณลักษณะของครูภาษาจีน ด้านการใช้สื่อในการเรียนรู้ และด้าน
บทบาทของผู้เรียน 2.นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อกระบวนการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ โดยรวม และรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรด้านการใช้สื่อในการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 3.นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยแตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อกระบวนการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ด้านคุณลักษณะของครูภาษาจีน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 ส่วนโดยรวมและด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 มีความคาดหวังต่อกระบวนการเรียนการสอนในทุกๆด้าน ดังนั้นหลักสูตรสามารถนำผลการวิจัยนี้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพ มีแนวทางในการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีน ให้มีคุณภาพและทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียเกิดความพึงพอใจ ความสำคัญ : หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน, กระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน, ผู้เรียนภาษาจีน

Author Biography

อัญชนา ทองกระจาย, อาจารย์ สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหาสารคาม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สาขาวิชาภาษาจีน

References

จำเนียร แจ่มอำพร. (2557). การเปรียบเทียบความคาดหวังที่มีต่อการปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทองที่มีสถานภาพต่างกัน. พระนครศรีอยุธยา : วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ธวัชชัย เพ็งพินิจ, สุดาวรรณ ประชุมแดง และเสน่ห์ โสดาวิชิต. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์หนองคาย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พรทิพย์ เดชนิติรัตน์. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการบริการการศึกษาด้านการสอนภาษาต่างประเทศที่สองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิสิฐ มหามงคล. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของบริษัทการบินไทย จำกัด
(มหาชน). กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. รายงานปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ :
การศาสนา.
สุณีย์ ธีรดากร. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครู
พระนคร.
เสาวนีย์ กันทะแสน. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดสภาพแวดล้อมและกิจกรรม
ทางการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาหมู่บ้านรวมมิตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุดมศักดิ์ แนวจิตร. (2557). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-29

How to Cite

ทองกระจาย อ., & Qi, Q. (2019). การศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามต่อกระบวนการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ภาคตะวันตกเฉียงใต้. วารสารช่อพะยอม, 30(2), 131–141. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/209628

ฉบับ

บท

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์