การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การฟัง การพูด จากสื่อสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ชั้นปีที่ 1 ด้วยรูปแบบการ สอน 6Ts ประกอบสื่อวิดีทัศน์

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา วิลาจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • รตนดา อาจวิชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สื่อสมัยใหม่, รูปแบบการสอน 6Ts  ประกอบสื่อวิดีทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง การฟัง การพูดจากสื่อสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารชั้นปีที่ 1 ด้วยรูปแบบการสอน 6Ts  หลังเรียน  กับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง การฟัง การพูดจากสื่อสมัยใหม่ ด้วยรูปแบบการสอน 6Ts  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  ชั้นปีที่ 1 หมู่ 2 จำนวน 23 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย 1) แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง การฟัง การพูดจากสื่อสมัยใหม่ ด้วยรูปแบบการสอน 6Ts  ของนักศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง การฟัง การพูดจากสื่อสมัยใหม่ แบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ t – test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการฟังการพูดจากสื่อสมัยใหม่ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการสอน 6Ts ประกอบสื่อวิดีทัศน์  หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียน  เรื่อง การฟัง การพูดจากสื่อสมัยใหม่ ด้วยรูปแบบการสอน 6Ts  ประกอบสื่อวิดีทัศน์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50

คำสำคัญ:  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน,  สื่อสมัยใหม่,  รูปแบบการสอน 6Ts  ประกอบสื่อวิดีทัศน์

References

กรรณิดา ทาระหอม. (2562). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เทคนิค 6Ts เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 86-88.

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1-6.

จุฑามาศ กาญจนธรรม ละเด่น ชะเนติยัง. (2558). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถามศึกษา จันทบุุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (พิเศษ), 109-122.

ฤทัยรัตน์ ศรีพวงมาลัย. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการ เรียนรู้ผ่านพอดคาสต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789 /2238/1/57254403.pdf

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2558). สถิติพาราเมตริก : การทดสอบค่าเฉลี่ย ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา (หน่วยที่ 11, หน้า 1-50). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พยงค์ มูลวาปี. อาจารย์ประจำสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (21 กรกฎาคม 2564). สัมภาษณ์.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

วิชญ์ บุญรอด. (2563). การเรียนการสอนออนไลน์วิชาปฏิบัติดนตรี โดยการประยุกต์ใช้เทคนิค 6Ts ของ Richard Allington. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (23)1, 285-293.

อพันตรี พูลพุทธา. (2558). การพัฒนาแบบวัดคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 12 (2 (23)), 79-87.

Tharahorm, K. (2019). An online instruction learning model with 6Ts Techniques for enhancing reading skills of undergraduate students. Humanities and Social ciences Journal UbonRatchathani Rajabhat University, 10(1), 79-93.

Bruning, R., Schraw, B., Norby, M., & Ronning, R. R. (2004). Cognitive psychology and instruction (4th ed.). Upper Saddle River, New Jersey : Pearson Education Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

How to Cite

วิลาจันทร์ เ., & อาจวิชัย ร. (2021). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การฟัง การพูด จากสื่อสมัยใหม่ สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ชั้นปีที่ 1 ด้วยรูปแบบการ สอน 6Ts ประกอบสื่อวิดีทัศน์. วารสารช่อพะยอม, 32(2), 81–98. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/252659