ปัจจัยในการกำกับตนเองที่ส่งผลต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง

  • ณิชชา ชำนิยนต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุธิดา ชาญวารินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ละมัย พันธุระ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การรู้สารสนเทศ, การกำกับตนเอง, นักศึกษาครุศาสตร์, ปัจจัย, อิทธิพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการกำกับตนเองที่ส่งผลต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ และศึกษาอิทธิพลการกำกับตนเองที่ส่งผลต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการกำกับตนเอง ที่มีต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยในการกำกับตนเองที่ส่งผลต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์ โดยการกำกับตนเองที่มาจากปัจจัยส่วนบุคคล การกำกับตนเองที่มาจากปัจจัยจากสภาพแวดล้อม และการกำกับตนเองที่มาจากปัจจัยพฤติกรรมสามารถใช้อธิบายการรู้สารสนเทศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=128.60, p<.001) และอิทธิพลการกำกับตนเองที่ส่งผลต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ พบว่า การกำกับตนเองในการรู้สารสนเทศมีความสัมพันธ์กับการรู้สารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.69, p<.01) 

References

จักรพงศ์ วารี, อุดม หอมคำ, ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์ และประชิต อินทะกนก. (2561). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการกำกับตนเองและระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนโมบายเลิร์นนิ่งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียของนักศึกษาครู. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 123-138.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). E-Instructional Design: วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทุติยา จันทร์ปลอด. (2550). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการรู้คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวีร์ ม่วงชื่น. (2559). ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมทางกายตามทฤษฎีการกำกับตนเองที่มีต่อการลดพฤติกรรมติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ภูษิต วงศ์หล่อสายชล. (2555). การวิจัยและพัฒนาคู่มือกลยุทธ์การส่งเสริมกลยุทธ์การเรียนรู้แบบกำกับตนเองในบริบทการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยด้วยการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สาลินี จงใจธรรม นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล และวินัย ดำสุวรรณ. (2558). กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7(1), 15-26.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. NJ: Prentice-Hall.

Berk, L., & Winsler, A. (1995). Schaffolding children’s learning: Vygotsky and early childhood education. Washington DC: Nation Association for the Education of Young Children.

Khlaisang, J., & Koraneekij, P. (2019). Open online assessment management system platform and instrument to enhance the information, media, and ICT literacy skills of 21st century learners. International Journal of Emerging Technologies In Learning (IJET), 14(07), 111-127.

Santos, M. Valle & Mayoral, Rosa M. (2018) Information literacy in managers’ education. Journal of Business & Finance Librarianship, 23(2), 167-182. DOI: 10.1080/08963568.2018.1510253

Schunk, D. H., & Zimmerman, B. J. (1994). Self-Regulation in Education: Retrospect and Prospect. In D. H. Schunk, & B. J. Zimmerman (Eds.), Self-Regulation of Learning and Performance. Issues and Educational Applications. Hillsdale, NJ: Erlbaum.

SCONUL. (2011). The SCONUL seven pillars of information literacy. 15 Retrieved from https://www.sconul.ac.uk/sites/default/files/documents/coremodel.pdf

Tabachnick, B.G., & Fidell, L.S. (2001). Using multivariate statistics. 4th Edition. Boston: Allyn and Bacon.

Zimmerman, B.J., & Martinez-Pons, M. (1986). Development of structure interview for assessing student use of self-regulate learning strategies. America Educational Research Journal, 23, 614-628.

Zimmerman, B. (1998). Academic studying and the development of personal skill : A Self regulatory perspective. Educational Psychologist, 33(2/3), 73-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30