ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี

ภาวะผู้นำทางวิชาการ

ผู้แต่ง

  • ธารินี กิตติกาญจนโสภณ สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • เบญจภรณ์ รัญระนา สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อาริยา ภูวคีรีวิวัฒน์ สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี (2) การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี และ (3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 273 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.97 และการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการด้านการเรียนการสอน (2) การจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่ค่าเฉลี่ยจากสูงสุด คือ ด้านหลักการจัดการเรียนรู้และ (3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของสถาน
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 78.00 (R2 = 0.780) สามารถเขียนในรูปสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ gif.latex?\hat{Y}= 0.832 + 0.380 (CT) + 0.254 (BT) + 0.195 (AT) สมการคะแนนมาตรฐาน (gif.latex?\hat{Z}= 0.444 (ZCT) + 0.290 (ZBT) + 0.217 (ZAT) คำสำคัญ : ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การจัดการเรียนรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2560). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

จิราภา เพียรเจริญ. (2556). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

ณชยธรรม์ ไตรรัตนศิริกุล. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏ).

ราชวิทยาลัย.ประคอง กรรณสูตร. (2554). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภาพร เหล็กหลี. (2559). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม

เขต 2. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

นิสสรณ์ พฤกษ์ภุมรินทร์. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

พัชรี ศรีสังข์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ราชวัชร เชื้อสาวะถี. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

สุขฤทัย จันทร์ทรงกลด. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สุพชาต ชุ่มชื่น. (2562). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

โสภา อำนวยรัตน์. (2563). ผู้นำทางการศึกษาในยุคดิจิตัล. กรุงเทพฯ: ดีเซมเบอรี่.

Hallinger and Murphy (1985). Academic leadership that helps Educational. NewYork: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research. Educational and Psychological Measurement.30(3), 607 - 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

How to Cite

กิตติกาญจนโสภณ ธ., รัญระนา เ., & ภูวคีรีวิวัฒน์ อ. (2022). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี: ภาวะผู้นำทางวิชาการ. วารสารช่อพะยอม, 33(2), 125–145. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/261751