การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งที่มีอิทธิพลต่อภาวการณ์สื่อสารในอาชีพ และการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคประสบการณ์ (Experiential Technique) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กับรูปแบบปกติ

ผู้แต่ง

  • รตนดา อาจวิชัย สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • NGUYEN THAO VAN สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชมพูนุท เมฆเมืองทอง สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ภาวการณ์สื่อสาร, การพัฒนาบุคลิกภาพ, เทคนิคประสบการณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งที่มีอิทธิพลต่อภาวการณ์สื่อสารในอาชีพ และ การพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคล โดยใช้เทคนิคประสบการณ์ (Experiential Technique) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กับรูปแบบปกติ สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ชั้นปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยเทคนิคประสบการณ์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กับรูปแบบปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งที่มีอิทธิพลต่อภาวการณ์สื่อสารในอาชีพ และ การพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคล โดยใช้เทคนิคประสบการณ์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กับรูปแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร จำนวน 45 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่มจากประชาชนซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 67 คน และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มทดลองที่เป็นนักศึกษาเรียนด้วยเทคนิคประสบการณ์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ จำนวน 25 คน 2) กลุ่มควบคุมเป็นนักศึกษาเรียนด้วยการสอนปกติ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการพรรณนา คือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ T-test Independent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคประสบการณ์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 73.93/76.93 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ ส่วนการสอนปกติ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 72.40/71.67 ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยเทคนิคประสบการณ์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคประสบการณ์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.72, S.D. = 0.35) ส่วนรูปแบบปกติ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.58, S.D. = 0.46) คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ภาวการณ์สื่อสาร, การพัฒนาบุคลิกภาพ, เทคนิคประสบการณ์

References

กันตาภา สุทธิอาจ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และไสว ฟักขาว. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนาตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 9.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพร วัฒนศรานนท์. (2555). ปัจจัยด้านการปรับปรุงมาตรฐานในการให้บริการและด้านบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท (สารนิพนธ์ บธ.ม.). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงศธร สุกิจญาณ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เน้นประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพศศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู (วิทยานิพนธ์). ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169–176.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่นจำกัด.

สถิต วงศ์สวรรค์. (2551). การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.

Dun, R. (1972). Team Learning and Circles of Knowledge: Practical Approaches to Individualizing. New York : Packer Publishing Company Inc.

Honey, P., & Mumford, A. (1992). The manual of learning styles (2nd ed.). Maidenhead, K: PeterHoney and Alan Mumford.

Johnson, D., Johnson, R. & Holubec, E. (1992). Advanced cooperative learning. Minnesota : Interaction Book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

อาจวิชัย ร., THAO VAN, N., & เมฆเมืองทอง ช. (2023). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งที่มีอิทธิพลต่อภาวการณ์สื่อสารในอาชีพ และการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคล โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคประสบการณ์ (Experiential Technique) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กับรูปแบบปกติ. วารสารช่อพะยอม, 34(1), 86–108. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/262852