การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เพ็ญประภา ไชยสงคราม สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 175 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามมี 3 ด้าน ตอนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการจัดการความรู้ ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยแบบสอบถามแบ่งเป็น 7 ด้านๆ ละ 5 ข้อและ 6 ข้อ รวมจำนวน 37 ข้อ และแบบสอบถามประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้านๆ ละ 6 ข้อและ 5 ข้อ รวมจำนวน 26 ข้อตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนางานการจัดการความรู้ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูป IBM SPSS
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมากจำนวน 6 ด้าน และระดับปานกลาง จำนวน 1 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมสูงที่สุดคือด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ค่าเฉลี่ย 4.09 รองลงมาคือด้านการเข้าถึงความรู้ ค่าเฉลี่ย 4.07 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.48 และด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ค่าเฉลี่ย 2.86 2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 4 ด้าน และอยู่ในระดับมาก จำนวน 1 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านเวลาของการปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ย 4.78 รองลงมาคือด้านวิธีการกระบวนการดำเนินงานค่าเฉลี่ย 4.62 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมาก คือด้านคุณภาพของการปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ย 4.50
คำสำคัญ: การจัดการความรู้, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

กรกนก ทิพรสและพิชัย ตั้งภิญโญพุฒิคุณ. (2545). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร:เท็กซ์ แอนด์เจอร์ นัลพับลิเคชั่น,

จุฑามาศ อินตรา. (2564). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการใน หน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(12), 275-286.

นันทภัสร์ จันทร์สว่าง. (2559). การจัดการความรู้และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). แก้ไขเพิ่มเติม กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์เอ็กซ์ เพรส.

สมจิตร สุวรักษ์. (2554). การจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในเขตภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566, จาก https://www.hii.or.th/haii/wp-content/uploads.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ไชยสงคราม เ. (2023). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 34(3), 244–263. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/269028