แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ผู้แต่ง

  • ภูสุดา ภู่เงิน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นันทรัตน์ เจริญกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, ประชารัฐ, การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) นำเสนอแนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีประชากร จํานวน 110 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ โดยเรียงลำดับค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุดถึงต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรและคู่มือการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอนและปรับปรุงการสอน การประสานความร่วมมือกับชุมชน การใช้เทคโนโลยีการศึกษา และการนิเทศการศึกษา 2) แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมี 6 แนวทาง และ 34 วิธีดำเนินการ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารงานและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุมิตร สุวรรณและคณะ. (2558). รายงานโครงการสรางเครือข่ายความร่วมมือพหุภาคีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดนครปฐม. นครปฐม.
สำนักงานศึกษาธิการภาค 1. (2560). รายงานผลการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเขตตรวจราชการที่ 1 และเขตตรวจราชการ กทม. ประจำปีงบประมาณ 2560. สืบค้น 31 ธันวาคมhttps://www.reo1.moe.go.th/2557/images/
download/2560-reo1-report-chk1.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รายงานการประเมินการปฏิรูปการเรียนรู้:พหุกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รายงานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาเรื่อง “การสร้างกลไกประชารัฐระดับพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาแบบมีส่วนร่วม. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2556). สรุปสาระสำคัญผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://cpd.bangkok.go.th:90/web2/NEWCPD2556/SCPD1.pdf
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). สานพลังประชารัฐด้านการศึกษา. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2560 จาก https://pracharathschool.go.th/index.php.

Translated Thai References (ส่วนที่แปลรายการอ้างอิงภาษาไทย)
Announcement of Education Ministry. “Management of school hours of basic education”. (2017, July 11)
Bureau of Educaton Innovation Development. (2016). Public–Private partnership for Education. Retrieved November 2, 2018, from http://pracharathschool.go. th/index.php
Department of city planning. (2013). Summary of Bangkok Metropolitan Administration. Retrieved February 20, 2018, from http://cpd.bangkok.go.th: 90/web2/NEWCPD2556/SCPD1.pdf
Office of the Education Council. (2004). Evaluation Report on Learning Reform: Multiple Case Studies. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
Regional Education office No.1 (2017). Report of the inspection results of the Inspectors of the Ministry of Education Region 1 and the Bangkok Metropolitan Administration Fiscal year 2017. Retrieved December 31, 2017, from http://www.reo1.moe.go.th/2557/images/download/2560-reo1-report-chk1.pdf
Suwaan S. and other. (2015). Development of Multi-lateral Cooperation for Educational Quality Improvement of Small-Size Schools in Nakhon Pathom Province. Nakhon Pathom.
Tarasrisuti, P. (2007). Academic management and administration. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
The secretariat of the house of representatives. (2017). Reported by the Commission on the Reform of Educational Reform. “The creation of a state-level civilian mechanism to drive participatory educational reform”. Ministry of Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10