การศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก : การเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ปรตี ประทุมสุวรรณ์ Satri Wat Absornsawan School

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษา, การพัฒนาผู้เรียน, พลเมืองโลก

บทคัดย่อ

การศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงการสร้างองค์ความรู้ ทักษะ ค่านิยม และทัศนคติของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองโลก โดยมีแนวทางและมุมมอง รวมถึงวิธีดำเนินการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ในแต่ละบริบท ซึ่งในการจะจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกให้ประสบความสำเร็จนั้น การศึกษาแนวคิด หลักการ และแนวทางของหน่วยงาน องค์กร สถาบัน และนักวิชาการทางด้านการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกอย่างหลากหลายจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นบทความฉบับนี้จึงได้นำเสนอมุมมองของแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกในต่างประเทศ อันได้แก่ 1) The Welsh Assembly Government 2) Education Services Australia 3) Learning and Teaching Scotland 4) NDCO 5) Oxfam และ 6) UNESCO ซึ่งนำไปสู่การสังเคราะห์และสรุปเป็นแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ได้เป็น 4 แนวคิด ดังนี้ 1) การจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน 2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 3) การเสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศในการเรียนรู้ และ 4) การพัฒนาศักยภาพครูและผู้บริหาร ทั้งนี้แนวทางการจัดการการศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกทั้ง 4 แนวทางจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่จะร่วมมือกันในการนำหลักการลงสู่การปฏิบัติ ทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม และประเทศ เพื่อให้การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกสอดรับกันทั้งระบบ ครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงการเรียนรู้ในห้องเรียนผ่านประสบการณ์จริง บูรณาการความรู้ ทักษะ และเจตคติ เข้ากับการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกระดับ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาประเทศและโลกอย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ปรตี ประทุมสุวรรณ์. (2559). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เลิศพร อุดมพงษ์. (2557). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในการส่งเสริมบทบาทของภาคพลเมืองในการเมืองระบบตัวแทน : แนวทางที่ยั่งยืนผ่านประสบการณ์จากต่างประเทศ Retrieved from https://kpi.ac.th/media/pdf/M8_272.pdf
สุนีย์ บันโนะ และวลัยพร ศิริภิรมย์ (2561). ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนในการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนตามแนวคิดการพัฒนาทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 1-22.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) : ฉบับสรุป. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2553 - 2561. กรุงเทพมหานคร : วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Translated Thai References (ส่วนที่แปลรายการอ้างอิงภาษาไทย)
Banno S., & Sirirom, W. (2018). Necessary needs of school administration in enhancing the consciousness of global citizenship of students according to the whole school development concept in Bangkok. Educational Management and Innovation Jurnal, 1(1), 1-22. [in Thai]
Bureau of Administration of Secondary Education. (2010). Approaches for learning management in international standard schools. Bangkok: Agricultural Cooperatives of Thailand. [in Thai]
Education Services Australia. (2011). Global Perspectives: A framework for global education in Australian schools. Australia: GEON Impact Printing Pty Ltd.
Learning and Teaching Scotland. (2012). Developing global citizens within Curriculum for Excellence. North Lanarkshire: Whitelees Primary School.
NDCO. (2012). Global Citizenship in Primary and Secondary in the Natherlands. Amsterdam. UNESCO. (2015). Global Citizenship Education: Topics and Learning Objectives. Paris: UNESCO.
Office of the Education Council. (2015). Report on the results of the development of educational management to create citizenship. Bangkok: Prikwhan Graphic. [in Thai]
Office of the Education Council. (2011). Educational Development Strategy for Citizenship Development 2010-2018. Bangkok: V.T.C. Communication. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development. (2012). National Economic and Social Development Plan No. 11 (2012-2016). Office of the National Economic and Social Development. [in Thai]
Office of the Education Council. (2010). Revised National Education Plan (2009-2016): Summary. Bangkok: Plikwhan Graphic. [in Thai]
Oxfam. (2015). Education for global citizenship: A guide for schools. Oxfam GB.
Prathumsuwan, P. (2016). Risk management strategies of secondary schools according to the concept of global citizenship development. Doctoral Dissertation, Chulalongkorn University. [in Thai]
The Welsh Assembly Government. (2008). Education for Sustainable Development and Global Citizenship A Common Understanding for Schools. Department for Children, Education, Lifelong Learning and Skills.
Udompong, L. (2014). Education to build citizenship in promoting the role of the citizen sector in politics, agent systems: sustainable approaches through international experience. Retrieved from http://kpi.ac.th/media/pdf/M8_272.pdf [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-11