แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของครู

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา การีซอ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธีรภัทร กุโลภาส คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาครู, การชี้แนะ, การใช้ระบบพี่เลี้ยง, การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของครู  โดยใช้กรอบแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูและการพัฒนาครู  ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูจำนวน 135 คน ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการและครู จำนวน 3 คน ผลการวิจัยพบว่า การชี้แนะ เป็นวิธีที่ครูเลือกใช้มากที่สุด รองลงมา เป็นการใช้ระบบครูพี่เลี้ยง และแนวทางในการพัฒนาครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของครู แบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยด้านการรับรู้ความสามารถในการจัดการชั้นเรียนมีแนวทางย่อย จำนวน 5 แนวทาง ด้านการรับรู้ความสามารถในการสร้างความยึดมั่นผูกพันให้กับนักเรียนมีแนวทางย่อย จำนวน 5 แนวทาง และด้านการรับรู้ความสามารถในการจัดการสอนทั้ง 3 ด้านมีแนวทางย่อย จำนวน 5 แนวทาง ได้แก่ วางแผนการพัฒนาครู เสนอนโยบายและจัดทำโครงการพัฒนาครูด้วยวิธีการชี้แนะ จัดทำโครงการพัฒนาครูด้วยวิธีการใช้ระบบครูพี่เลี้ยง จัดทำโครงการพัฒนาครูด้วยวิธีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกับนักการศึกษาและครูผู้สอน และตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาครู

References

กลุ่มบริหารงานแผนและนโยบาย. (2559). แผนการปฏิบัติการประจำปี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2559. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, กรุงเทพมหานคร.
กลุ่มบริหารงบประมาณและบุคลากร. (2560). รายงานรายชื่อข้าราชการครูบรรจุใหม่และเกษียณอายุราชการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, กรุงเทพมหานคร.
ชวนคิด มะเสนะ. (2559). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษาในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 16(1).
ธรรมโชติ เอี่ยมทัศนะ. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. Veridian E-Journal, 10(3), 1-16.
วีระชัย จิวะชาติ. (2555). แนวทางการพัฒนาครู. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก https://sites.google.com.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2551). แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

Translated Thai References (ส่วนที่แปลรายการอ้างอิงภาษาไทย)
Aiemtussana T. (2017). Causal relationship model of personal factors and social factors on commitment of upper secondary school students. Veridian E-Journal, 10(3), 1-16. [in Thai]
Budgeting and Human Resource Subdivision Triamudom Suksa School. (2017). List of new government teachers and retirees Triamudom Suksa School. Triamudom suksa school, Bangkok. [in Thai]
Chiwachart W. (2012). Teacher development guidelines. [web blog]. Retrieved from https://sites.google.com [in Thai]
Masena C. (2016). Human resource management in education in the next decade. Journal of Educational Management Bua Bundit, 16, 1-17. [in Thai]
National Institute for Development of Teachers, Faculty Staff and Educational Personnel. (2008). Guidelines for teacher and faculty staff development of National Institute for Development of Teachers, Faculty Staff and Educational Personnel. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10