ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา; FACTORS AFFECTING ORGANIZATIONAL EFFECTIVENESS OF EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICES

ผู้แต่ง

  • ญานิศา บุญจิตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐนิภา คุปรัตน์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิริพันธ์ สุวรรณมรรคา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ประสิทธิผลองค์การ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, Factors, Organizational, Effectiveness, Educational Sevice Area Offices

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ใช้กรอบแนวคิดหลักของนักการศึกษา Steers, Hodge and Anthony, Bartol, and others, Hoy and Miskel และ Owens ในการกำหนดกลุ่มปัจจัย และองค์ประกอบประสิทธิผลตามแนวทางการประเมินองค์การแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ของ Kaplan and Norton เพื่อวัดประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จำนวน 5 ชุด กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 125 แห่ง รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 625 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามี 3 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านกระบวนการภายในมีประสิทธิผลสูงสุด รองลงมาคือด้านผู้รับบริการ และด้านการเงิน ตามลำดับ ส่วนด้านการเรียนรู้และการพัฒนา อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 8 ปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายนอก นโยบายการบริหารและการปฏิบัติ โครงสร้างองค์การ คุณภาพบุคลากร ลักษณะงาน ลักษณะผู้รับบริการ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์การ ร่วมกันอธิบายประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ร้อยละ 88.00

FACTORS AFFECTING ORGANIZATIONAL EFFECTIVENESS OF EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICES

The purpose of this research was to analyze the factors that affect the organizational effectiveness of Educational Service Area Offices. The method for this study was descriptive research. The conceptual framework derived from educationists; Steers, Hodge and Anthony, Bartol et al., Hoy and Miskel and Owens, was used to determine the groups of factors, while The Balanced Scorecard approach by Kaplan and Norton was utilized to measure the level of organizational effectiveness of Educational Service Area Offices.
Questionnaires were used to gather data. The groups of studies were taken from 125 Educational Service Areas Offices. There were 625 respondants who provided information. The data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results showed that overall, Organizational Effectiveness of Educational Service Area Offices was at a high level. Considering each factor, it was found that these 3 factors were at a high level. Organizational effectiveness in internal process ranked the highest, followed by the customer and financial aspects, while learning and growth aspects were at a medium level. There were 8 factors external environments, administration policies and practices, organizational structure, personnel quality, job characteristics, customer characteristics, technology and organizational culture affecting efficiency of the Educational Service Area Offices statistically significant at the level 0.05 and could be explicated as the variables of organizational effectiveness at 88.00%.

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรรณิกา เจิมเทียนชัย. (2539). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. (2549). เกณฑ์คุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2547). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.
ธวัช กรุดมณี. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อความมีประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2542). การสร้างและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ. วารสารบริหารธุรกิจ, 83 (กรกฎาคม-กันยายน), 45-59.
ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของหน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ปิติชาย ตันปิติ. (2547). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พิสณุ ฟองศรี. (2542). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การภาครัฐเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพนอกระบบโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ภรณี กิร์ติบุตร. (2529). การประเมินประสิทธิผลองค์การ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2549). รายงานการติดตามประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาด้านการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2548. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปี (พ.ศ. 2542-2551). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
วันชัย มีชาติ. (2548). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคนอื่น ๆ . (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2540). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : นำอักษรการพิมพ์.
สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. (2546). การบริหารกลยุทธ์และผลสัมฤทธิ์ขององค์กรด้วยวิธี Balanced Scorecard. กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สุทธิพงศ์ ยงค์กมล. (2543). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ปฏิรูปการศึกษา, สำนักงาน. (2545). การบริหารเขตพื้นที่การศึกษา : เพื่อคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
Barnard, C. I. (1968). The Function of the Executive (30th anniversary ed). Cambridge: Harvard University Press.
Bartol, K., Martin, D., Tein, M. and Matthews, G. (2001). Management: a Pacific Rim Focus (3rd ed.). Australia: McGraw-Hill.
Deal, T. E. and Peterson, K. D. (1990). The Shaping School Culture Field Book. San Francisco: Jossey-Bass.
French, W. L. and Bell, C. H., Jr. (1978). Organization Development: Behavioral Science Interventions for Organization Improvement. New Delhi: Prentice Hall.
Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. and Donnelly, J. H. (2006). Organizations: Behavior, Structure, Process (12th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Herzberg, F., Mausner, B. and Bloch, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.
Hodge, B. J. and Anthony, W. P. (1988). Organization Theory (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy. Boston: Harvard Business School Press.
Kotter, J. P. and Heskett, J. L. (1992). Corporate Culture and Performance. New York: Free Press.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Lunenberg, F. C. and Ornstein, A. C. (2000). Educational Administration: Concepts and Practices (3rd ed.). Belmont: Wadsworth.
McClelland, D. C. (1987). Characteristics of successful entrepreneurs. Journal Creation Behavior, 21(1), 18-21.
Schermerhorn, J. R., Jr., Hunt, J. G. and Osborn, R. N. (2005). Organizational Behavior (9th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Steers, M. R. (1977). Organization Effectiveness: A Behavioral View. California: Goodyear.
Woods, Kathleen Ann O'Loughlin. (1988). Leadership Factors that Influence Educational Excellence. Dissertation Abstracts International-A 59 (September), 25-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย