ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิดที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี

ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิดที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จำลองลักษณ์ เสียงสนั่น ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การเล่านิทานภาพปลายเปิด, ความคิดสร้างสรรค์, ปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิดที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี และเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 อนุบาลพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ห้อง 1 /3 จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิดแบบบูรณาการในกิจกรรมสริมประสบการณ์และกิจกรรมสร้างสรรค์ 5 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยครอบครัวของฉัน หน่วยข้าวมหัศจรรย์ หน่วยผักและผลไม้ หน่วยสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต และหน่วยอาชีพในฝัน จำนวนหน่วยละ  5 แผน รวมทั้งสิ้น 25 แผน โดยแผนมีคุณภาพ ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 ด้านความถูกต้อง ด้านความสอดคล้อง และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยจากน้อยไปหามากเท่ากับ 4.14, 4.15 และ 4.36 ตามลำดับ เครื่องมือประเมินผลได้แก่ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ภาพเป็นสื่อ จำนวน 13 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.33 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.22 - 0.96 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติที (t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว (One Sample t-test) และกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Sample t-test)

          ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

  1. ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิด พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิดในภาพรวม เด็กปฐมวัยมีความคิดสร้างสรรค์ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 100 เด็กปฐมวัยมีความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับต่ำ (=20.58, S.D.=8.19) ทดสอบแล้วต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 กรณีหลังจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัยมีความคิดสร้างสรรค์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มคิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับปานกลาง (=64.19, S.D.= 7.38) ทดสอบแล้วสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานภาพปลายเปิด พบว่า เด็กปฐมวัยมีความคิดสร้างสรรค์หลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย