The ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมแบบโครงการของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมแบบโครงการของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผู้แต่ง

  • ทิพย์รัตน์ สอนศรี มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ผลการจัดประสบการณ์, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, กิจกรรมแบบโครงการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมแบบโครงการของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ 2) เปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมแบบโครงการของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดม่วงหวาน (ส่วน กระบวนยุทธ ประชาสรรค์) อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมแบบโครงการ โดยภาพรวมแผนมีคุณภาพด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, SD = 0.06)  เครื่องมือประเมินผล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสถานการณ์ และแบบบันทึกพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติที (t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว (One Sample t-test) และกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent  Sample t-test)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมแบบโครงการ

1.1 ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหาพบว่า ก่อนจัดจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มคิดเป็นร้อยละ 63.30 หลังจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มคิดเป็นร้อยละ 96.67

1.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มคิดเป็นร้อยละ 60

  1. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดกิจกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย