นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาในประเทศไทย

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัตนา จันทร์รวม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียน, โรงเรียนระบบทวิศึกษา, หลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาในประเทศไทยตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ โรงเรียนระบบทวิศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รวมจำนวน 226 โรง มีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ      คือ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ 1 โรง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง     มีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และ          ผู้ประสานงานหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่  ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนคือ “เข็มทิศอาชีพ 3C” เป็นนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) การจัดหลักสูตรอาชีพ ที่เกิดจากความร่วมมือของโรงเรียนกับสถานประกอบการและ/หรือองค์กร สถาบันต่าง ๆ ประกอบด้วย วิชาสามัญและวิชาอาชีพ (2) การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เป็นการปฏิบัติการร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ หน่วยงานและ/หรือสถาบันโดยจัดการศึกษาเชิงบูรณาการ มีการกำหนดเวลา ภาระการสอนของสถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกัน และ (3) การประเมินผลแบบมีทิศทาง เป็นการประเมินทั้งผลสัมฤทธิ์และผลลัพธ์การเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย