บทบรรณาธิการ

ผู้แต่ง

  • ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทบรรณาธิการ

 

นวัตกรรมการระบบการศึกษาอัจฉริยะเพื่อสร้างสังคม 5.0

 

          ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจ 4.0 แต่ญี่ปุ่นกำลังวางแผนก้าวสู่สังคม 5.0 หรือ “ยุคหลังนวัตกรรม” โดยมองว่าการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21 คือ การแก้ปัญหาสังคม ซึ่งมีความท้าทายที่เผชิญอยู่ คือ จำนวนประชากรที่ลดลง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น สตรีมีส่วนในเศรษฐกิจน้อย ภัยธรรมชาติที่มากขึ้น รวมทั้งมีการก่อการร้ายในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งทางไซเบอร์ (cyber) นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 4.0 เช่น Robotics และ IoT จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างสังคม 5.0

          อุปสรรค หรือกำแพง 5 ชั้นที่ขัดขว้างการก้าวสู่สังคม 5.0 จะต้องได้รับการแก้ไขด้วยนวัตกรรม ดังนี้

  1. ปัญหาของระบบราชการ ต้องปฏิรูปให้มีนวัตกรรมด้วยการเชื่อมกับ IoT
  2. ปัญหาของข้อกฎหมาย ต้องได้รับการปฏิรูปทุกระดับให้เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมที่มีต่อคุณภาพชีวิต เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ จะมีกฎหมายใบขับขี่อย่างไร
  3. อุปสรรคของเงินทุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น การสนับสนุนการวิจัยนวัตกรรม ควรมีอย่างน้อย 1% ของ GDP
  4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาใหม่ สังคม 0 ให้อิสระในการจิตนาการสร้างสิ่งใหม่
  5. การยอมรับและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ญี่ปุ่นได้ประกาศ 4 นโยบายใหม่เพื่อก้าวสู่ Society 5.0 ประกอบด้วย (http://www8.cao.go.jp)

  1. การสร้างพื้นที่ไร้การแข่งขัน เพื่อหลอมรวมบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เปลี่ยนจากการแข่งขันให้เป็นความร่วมมือ
  2. การสร้างความร่วมมือของบริษัท SME และ Start Up น้อยใหญ่ทั้งหมด
  3. การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ โดยเน้นที่เด็กปฐมวัย และลดค่านิยมการกดขี่ทางเพศ โดยเฉพาะแนวคิดชาตินิยมล้าหลัง
  4. ยอมรับการมีอยู่ของเครื่องจักร ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการเข้ามาทดแทนกำลังคนวัยทำงานที่หายไป แทนที่จะมองว่ามาทำให้คนตกงาน

ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะเพิ่มมิติของการพัฒนาสังคม 5.0 ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0

ได้แล้ว

ความฝันที่จะก้าวสู่สังคม 5.0 จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่ปฏิรูประบบการศึกษา ให้เป็นระบบการศึกษาอัจฉริยะเพื่อสร้างสังคม 5.0

ถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันสรรสร้างการศึกษา 5.0 ได้แล้ว

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-10