ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • Supawatt Chao-kasame คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, ประสิทธิผลโรงเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1  2) ประสิทธิผลโรงเรียนดังกล่าว  และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนเหล่านี้  ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียนเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระ จากโรงเรียนจำนวน 31 โรง รวม 248 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 

ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการปรับวิสัยทัศน์เกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้ และสภาพแวดล้อม ด้านการสร้างโอกาส ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการสร้างภาพลักษณ์ ด้านการสื่อสาร และด้านการสร้างภาพลักษณ์ 2) ประสิทธิผลโรงเรียน องค์ประกอบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย  คือด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรก คือ ด้านการแข่งขัน รองลงมา คือ ด้านการสร้างสรรค์ ด้านการร่วมมือ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับสุดท้าย คือ ด้านการควบคุม 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

Boomtham, T. (2016). Leadership in Digital Economy Era and Sustainable Development

of Educational Organizations. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 7(1), 218, 223. [in Thai]

Chamchoy, S. (2017). School Management in the Digital Age. Phitsanulok: Naresuan University Press.

Christian, F. (2014). Social Media: a critical introduction. Great Britain: SAGE Publications Ltd.

Ministry of Education. (2017). Educational Reform Guidelines. Photocopy document. [in Thai]

Ministry of Information and Communication Technology. (2016). Digital Development for National Economic and Social Development. Bangkok: Ministry of Information and Communication. [in Thai]

Ob-un, I. (2017). The school leadership affecting teacher professional development effectiveness in school under the office of secondary educational service area 25. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 5(2), 25-35.

Pengsawat, W. (2006). A Theoretical Model of Instructional Leadership of School Administrator Affecting School Effectiveness. Journal of Educational Administration Khon Kaen University, 10(2), 13-20. [in Thai]

Taweerat, P. (1997). Research Methods in Behavioral Science and Social Sciences. Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]

Thailand Digital Government Academy. (2016). Thai P.M. runs Thai government development, emphasizing that the new generation must be IT experts. [Online]. Retrieved from www.dga.or.the/th/content/913/11511/ Accessed on March 2, 018.

Thaitae, S. (2016). A Causal Model of Teacher Leadership and Authentic Leadership of Administrators, with Organizational Culture as Mediator, Affecting Effectiveness of Nursing Education Institutions. Bangkok: Faculty of Education, Kasetsart University.

Ulrich, D. (1996). The leader of future: New vision, strategies and practice for the next era. San Francisco. CA: Jossey Bass.

Zhong, L. (2016). The Effectiveness of Digital Leadership at K-12 Schools in Mississippi Regarding Communication and Collaboration During CCRS Implementation. Dissertations. 328. [Online]. Retrieved from www.aquila.usm.edu/dissertations/ 328, March 19, 2018.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย