แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy)

แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy)

ผู้แต่ง

  • Rueangyod Phuttikul คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ ความฉลาดรู้ไอซีที หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) 2) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดความฉลาดรู้ไอซีที ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารกับอาจารย์ จำนวน 44 คน และนิสิตหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต จำนวน 221 คน รวมจำนวน 265 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan จากประชากรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดแยกเป็นผู้บริหารกับอาจารย์ จำนวน 51 คน และนิสิตหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 502 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ฯ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNImodified) และฐานนิยม

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดความฉลาดรู้ไอซีที ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมากตามลำดับ และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ของการบริหารงานวิชาการทั้งผู้บริหารกับอาจารย์ และนิสิต คือ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนามีทั้งหมด 3 แนวทางหลัก และ 6 แนวทางย่อย โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นตามลำดับดังนี้ (1) พัฒนาการจัดการเรียนการสอน มี 2 แนวทางย่อย (2) พัฒนาหลักสูตร มี 2 แนวทางย่อย (3) พัฒนาการการประเมินผลการเรียนการสอน มี 2 แนวทางย่อย

Downloads

Download data is not yet available.

References

Achawa-amrung, P. (2003). Higher education administration. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Asawaphum, S. (2008). Modern education administration: concepts, theories and practices. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University. [in Thai]

Buathong, S. (2017). Measurement and Assessment of Learning Skills in the 21st Century. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 1856-1867. [in Thai]

Educational Testing Service (ETS). (2002). Digital Transformation A Framework for ICT Literacy. Retrieved August 4, 2019, from https://www.ets.org/Media/Research/pdf/ ICTREPORT.pdf

Faculty of Economics Chulalongkorn University. (2018). Bachelor of Economics Program Updated curriculum 2018. Faculty of Economics Chulalongkorn University. [in Thai]

Government Gazette. (2019). Higher Education Act B.E. 2562. Retrieved September 8, 2019, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2562/A/057/T_0054. PDF [in Thai]

Hirunsathit, S., & Chaemchoy, S. (2019). The Priority Needs of Watsongtham School Management Based on The Concept of Innovation Organization. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 10(2), 252-267. [in Thai]

Irvin, R. (2007). Information and communication technology (ICT) literacy: Integration and assessment in higher education. Journal of Systemics, Cybernetics and informatics, 5(4), 50-55.

Kaewhaprakarn, B. (1997). Academic performance of school administrators in the expansion of basic education opportunity project in Trang province. (Master's thesis, Prince of Songkla University). [in Thai]

Kanrean, N., & Chaemchoy, S. (2018). The Study of Technological Pedagogical and Content Knowledge (TPACK Model) of School Administrators Under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Office 1. Educational Management and Innovation Journal, 1(3), 68-81. [in Thai]

Kaoian, J. (2014). Technical administration techniques in schools: strategies and practices for professional managers. Songkhla: Chanmuang Press. [in Thai]

Ministry of Education. (2011). Notification of the Ministry of Education on standards for higher education institutions. Retrieved September 5, 2019, from http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/Announcement/44.pdf [in Thai]

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan B.E. 2560-2579. Retrieved September 8, 2019, from http://www.lampang.go.th/public/EducationPlan2.pdf

Office of the Royal Society (2019). Contemporary Dictionary of Educational Science Set for literacy. Bangkok: Office of the Royal Society. [in Thai]

Promphasit, P. (2016). Documentation for Learning Management “Active Learning (AL) for HuSo at KPRU”. Retrieved October 21, 2019, from https://huso.kpru.ac.th/File/ Academic/Manual-KM58.pdf [in Thai]

Ratanapitakdhada, C., & Charoenkul, N. (2018). ACADEMIC MANAGEMENT ACCORDING TO CLIL: CASE STUDIES IN ASIA. Educational Management and Innovation Journal, 1(2), 15-31. [in Thai]

Rueangrong, P., et al. (2014). Educational technology with Thai teachers in the 21st century. Journal of Panyapiwat, 5(Special Issue May), 195-207. [in Thai]

Somerville, M. M., Smith, G. W., & Macklin, A. S. (2008). The ETS iSkillsTM Assessment: a digital age tool. The Electronic Library, 26(2), 158-171.

Wongyai, W. (2011). Higher education curriculum development (6th ed.). Bangkok: R&Print Co., Ltd. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย