การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • Tananya Khamkhum Faculty of Education, Roi Et Rajabhat University

คำสำคัญ:

การคิดเชิงออกแบบ, รูปแบบการสอน, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, กิจกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ และศึกษาผลความพึงพอใจในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน หลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั่วไป ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ แบบประเมินผู้เรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1  ทำความเข้าใจปัญหา (Understand) มีกิจกรรมการเรียน ดังนี้ 1) ให้นักศึกษาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียน (Empathy) และ 2) ให้นักศึกษาดำเนินการสังเคราะห์ข้อมูล (Define)  ขั้นตอนที่ 2 ระดมสมอง (Brainstorm) มีกิจกรรมการเรียน ดังนี้ 1) ให้นักศึกษาทำการแยกย่อยปัญหา (Decompose)   และ 2) ให้นักศึกษาระดมความคิดใหม่  (Idea)  ขั้นตอนที่ 3 การสร้างสรรค์ (Create) มีกิจกรรมการเรียนดังนี้ 1) ให้นักศึกษาสร้างต้นแบบนวัตกรรมการศึกษา (Prototype) และ 2) ให้นักศึกษานำเสนอต้นแบบนวัตกรรมการศึกษา (Present)  ขั้นตอนที่ 4  การทดสอบต้นแบบ (Test)  และผลความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมมีความพึงพอใจมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

Announcement of the Ministry of Education On Higher Education Institutions Standards B.E. 2561. (2018, August 17). Government Gazette. No.135 Special Section 199 D. pp. 19-21. [in Thai]

Asanok, M. (2018). Integrated Design Thinking for Instructional Innovation Development. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 1(1), 6-12. [in Thai]

Bennett, S. et al. (2016). Investigating University Educators’ Design Thinking and the Implications for Design Support Tools. Journal of Interactive Media in Education, (1), 9, 1-10, DOI: http://dx.doi.org/10.5334/jime.404

Bucha, S., & Chookhampaeng, S. (2020). The Development of Learning Activity in Biology by Design Thinking with Participatory Learning to Promote Creativity of Grade 11th Students. Journal of MCU Nakhondhat, 7(12), 210-221. [in Thai]

Klahan, P., & Ponegrn, W. (2020). The Development Learning Activity Based on Design Thinking method and Project Based Learning Enhance to Innovator of Student Grade 10. (Master’ thesis Silpakorn University). http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/ handle/123456789/3118 [in Thai]

Lohsomboon, N. et al. (2020). Design Thinking Process to Create Innovative Art Expression. Journal of Education Naresuan University, 22(1), 343-352. [in Thai]

Matthews, J., & Wrigley, C. (2017). Design and Design Thinking in Business and Management Higher Education. Journal of Learning Design Special Issue: Business Management, 10(1), 42-54.

Srisa-ard, B. (2002). Introduction to research (7th ed.). Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Strakhovich, E. (2018). How Students-Managers Use Design Thinking to Collect It-Project Requirements. 15th International Conference on Cognition and Exploratory Learning in Digital Age (CELDA 2018).

Tangpakdee, R. (2017). The Effects of Competency Development of Instructional Design for Media Production by Using Instructional Model of Community Based Learning with Design Thinking Process of Undergraduate Students of Educational Technology and Communications Major, Mahasarakham University. E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 123-137. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย