การบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรผู้ประกอบการยุคใหม่ตามแนวคิดนวัตกรรมแบบมัธยัสถ์

การบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรผู้ประกอบการยุคใหม่ ตามแนวคิดนวัตกรรมแบบมัธยัสถ์

ผู้แต่ง

  • Wutthichai Kraiwiset โรงเรียนบ้านตามูล (รัฐประชาสงเคราะห์)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

      นวัตกรรมแบบมัธยัสถ์เป็นนวัตกรรมที่ได้รับการพูดถึงในฐานะเป็นทางออกที่ยั่งยืนในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพง และทุกคนเข้าถึงได้ภายใต้ความขาดแคลนของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นวัตกรรมแบบมัธยัสถ์เน้นความสามารถในการทำให้ได้มากกว่าโดยการใช้ทรัพยากรน้อยกว่าจึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าสูงให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความยั่งยืนให้แก่สิ่งแวดล้อมที่กำลังเสื่อมโทรมจากการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น ปัจจุบันนวัตกรรมแบบมัธยัสถ์ถูกนำมาปรับใช้ในหลากหลายภาคธุรกิจ เช่น สุขภาพ การผลิต อาหาร ยานยนต์ พลังงาน และการศึกษา การสร้างนวัตกรรมแบบมัธยัสถ์จึงเป็นความสามารถของนวัตกรผู้ประกอบการในการสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยการมองเห็นความขาดแคลนและข้อจำกัดเป็นโอกาสมากกว่าเป็นอุปสรรค นวัตกรผู้ประกอบการยุคใหม่จึงต้องมีกรอบแนวคิดที่ยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ การผลิต และการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้ลูกค้า มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์เพื่อการสร้างนวัตกรรม มีความเข้าใจความหลงใหล ค่านิยม เป้าหมาย        และอัตลักษณ์ของตนเอง รวมถึงบริบททางสังคมที่อยู่รอบตัวอย่างลึกซึ้งเพื่อการสร้างสรรค์ สถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างคนเพื่อตอบโจทย์ยุคแห่งการสร้างสรรค์ภายใต้ความขาดแคลนจึงต้องมีกรอบแนวคิดใหม่ในบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรผู้ประกอบการตามแนวคิดนวัตกรรมแบบมัธยัสถ์เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพลิกผัน จากการศึกษาเอกสารและบทความทางวิชาการ พบว่า การบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการสร้างนวัตกรผู้ประกอบการยุคใหม่ตามแนวคิดนวัตกรรมแบบมัธยัสถ์ประกอบด้วยการบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 4 ด้าน ที่เรียกว่า “กรอบ 4Ps” ได้แก่ การบริหารคน การบริหารกระบวนการ การบริหารหลักสูตร และการบริหารปรัชญา

 

คำสำคัญ :  นวัตกรรมแบบมัธยัสถ์ นวัตกรผู้ประกอบการยุคใหม่ การบริหารสภาพแวดล้อมการเรียนรู้  

Downloads

Download data is not yet available.

References

Basu, R. R., Banerjee, P. M., & Sweeny, E. G. (2013). Frugal innovation: Core competencies to address global sustainability. Journal of Management for Global Sustainability, 1(2), 63-82.

Brem, A., & Wolfram, P. (2014). Research and development from the bottom-up introduction of terminologies for new product development in emerging markets. Journal of Innovation and Entrepreneurship, 3(1), 1-22.

Chaemchoy et al. (2022). Policy Design for Transforming Learning Syatems Responsive to Future Global Changes in 2040. Kasetsart Journal of Social Sciences, 43(2), 509-516.

Cunha, M. P. e., Rego, A., Oliveira, P., Rosado, P., & Habib, N. (2014). Product innovation in resource-poor environments: three research streams. Journal of Product Innovation Management, 31(2), 202-210.

Dyer, J., Gregersen, H., & Christensen, C. M. (2019). The innovator’s DNA: mastering the five skills of disruptive innovators. Harvard Business School Publishing.

Govindarajan, V., & Trimble, C. (2012). Reverse innovation: create far from home, win

everywhere. Boston: Harvard Business Press.

Greenberg, D., McKone-Sweet, K., & Wilson H. J. (2011). The new Entrepreneurial Leader: Developing leaders who shape social and economic opportunity. Tomson Press India.

Leadbeater, C. (2018). The Frugal Innovator: Creating Change on a Shoestring Budget. Asian Management insight.

Limerick, D., Unnington, B., & Crowther, F. (1998). Managing the New Organization: Collaboration and Sustainability in the Post Corporate World. Business & Professional Publishing.

OECD. (2017). The OECD Handbook for Innovative Learning Environments, OECD Publishing, Paris. Retrieved from http://dx.doi.org/9789264277274-en

Portor, M. E., & M. R. Kramer. (2011). Creating shared value: How to Reinvent Capitalism-and Unleash a Wave of Innovation and growth. Harvard Business Review. January/February, 62-77.

Prahalad, C. K., & Mashelkar, R. A. (2010). Innovation’s holy grail. Harvard Business Review, 88(7/8), 132-141.

Radjou, N., Prabhu, J., & Ahuja, S. (2012). Jugaad Innovation: Think frugal, Be flexible, Generate breakthrough growth. Jossey-Bass.

Radjou, N., & Prabhu, J. C. (2014). Frugal innovation: how to do more with less (1st ed.). New York: Public Affairs.

Soni, P., & Krishnan, R. T. (2014). Frugal innovation: aligning theory, practice, and public policy. Journal of Indian Business Research, 6(1), 29-47.

Wagner, T. (2012). Creating Innovator: The making of young people who will change the world. New York.

Weyrauch, T., & Herstatt, C. (2016). What is frugal innovation? Three defining criteria. Journal of Frugal Innovation, 2(1), 1-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-17

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ