การประเมินและทบทวนสถานภาพการดำเนินงาน ขององค์การไม่แสวงหาผลกำไร ประเภทศาลเจ้าในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย
คำสำคัญ:
Evaluation; Nonprofit Organization; Shrinesบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและทบทวนสถานภาพการดำเนินงานขององค์การไม่แสวงหาผลกำไรประเภทศาลเจ้าในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารหรือคณะกรรมการศาลเจ้าในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย ที่ได้รับรางวัลการบริหารงานศาลเจ้าดีเด่นระดับประเทศของกรมการปกครองอย่างต่อเนื่องและศาลเจ้าฯ มีผลงานด้านการบริหารจัดการดีเด่นที่กรมการปกครองแนะนำครอบคลุมทั่วประเทศ จำนวน 12 คน 2) กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของกรมการปกครองและผู้บริหารงานทะเบียนศาลเจ้า สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จำนวน 3 คน และ 3) ประธานเครือข่ายชมรมศาลเจ้า (อ๊าม) จังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 คน มีการเก็บรวบรวมและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า องค์การไม่แสวงหาผลกำไรประเภทศาลเจ้าในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นองค์การในการกำกับดูแลของกรมการปกครอง มีบทบาทในการดำเนินงานเพื่อกิจกรรมทางความเชื่อและสาธารณประโยชน์ ดำเนินงานภายใต้นโยบาย ทิศทางและข้อกำหนดของกรมการปกครอง ซึ่งจากการประเมินสถานภาพการดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานของมุมมองเชิงระบบ ทำให้เกิดประเด็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคต่อการดำเนินงาน รวมทั้งนำไปสู่การทบทวนสถานภาพการดำเนินงาน ที่ประกอบด้วย ประเด็นที่ควรยึดถือและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข ประเด็นที่ควรพัฒนาต่อยอดและประเด็นที่ควรควบคุม หลีกเลี่ยงและจัดการความเสี่ยง ซึ่งมีการอธิบายรายละเอียดตามประเด็นต่างๆ และอภิปรายผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย
Downloads
References
กรมการปกครอง. (2559). ศาลเจ้าในความปกครองของกระทรวงมหาดไทย.
(Online), สืบค้นจาก www.dopa.go.th., เมื่อ 18 มกราคม 2559.
กองแผนและนโยบาย สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2554). รายงาน
การศึกษา: ศาสนสถานประเภทศาลเจ้าในเขตกรุงเทพมหานคร ปี 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร.
ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งงานวิจัยเชิงคุณภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งฯ.
ต้วน ลี่ เซิง และ บุญยิ่ง ไร่สุขสิริ. (2543). ความเป็นมาของวัดจีนและศาลเจ้าจีน
ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย.
นุกูล ธรรมจง และ นฤมิตร สอดศุข. (2556). บทบาททางเศรษฐกิจและสังคมของ
ศาลเจ้าจีนในเขตเทศบาลเมืองโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1 (3) : 79 – 97.
เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ. (2551). ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของศาล
เจ้าจีนในจังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนิน
งานของโรงเจศาลเจ้า สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหศาสตร์, 15 (2) : 304 – 346.
สรัญ เพชรรักษ์. (2545). ศาลเจ้า คนและก๋ง: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ชุมชนและเทพเจ้า ผ่านพิธีกรรมกินเจ ศาลเจ้าไหหลำบ้านปากกะแดะ. สุราษฎร์ธานี: สถาบันราชภัฎสุราฎร์ธานี.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18.
กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
Dart, R. (2004). Being “Business - like” in a nonprofit organization: A
Grounded and inductive typology. Nonprofit and Voluntary Sector Quarterly, 33(2): 290 – 310.
Drucker, P. F. (2005). Managing the Nonprofit Organization:
Principles and Practices. New York: Collins Business.
Goerke, J. (2003). Taking the quantum leap: Nonprofit are now in
business. An Australian perspective. International Journal of Nonprofit and Voluntary Sector Marketing, 8(4): 317 – 327.
ICNPO. (2016). The International Classification of Non-profit
Organizations. (Online), Retrieved from http://www.statcan.gc.ca., January 15, 2016
Keating, E.K. & Frumkin, P. (2001). How to Assess Nonprofit Financial
Performance. Working Paper. Northwestern University.
Lyons, M. (2001). Third sector: The contribution of Nonprofit and
Cooperative Enterprises in Australia. St. Leonards : Allen & Unwin.
Ott, J.S. (2001). The Nature of the Non - Profit Sector. Boulder, CO:
Westview Press.
Payton, R.L. (1988). Philanthopy: Voluntary Action for the Public
Good. New York: Macmillan.
Rinaldi, M. P, C. Salimbeni, L.B. & Citti, P. (2015). Conceptual design of
a Decision Support System for the economic sustainability of nonprofit organizations. Procedia CIRP, 34: 119 – 124.
Uwe Flick. (2007). Managing Quality in Qualitative Research.
Thousand Oaks, California: Sage Publication.
Worth, Michael J. (2012). Nonprofit Management: Principles and
Practices. 2nd ed. California: SAGE.
Translated Thai References
Arakpothchong, W. and Siriwong, P. (2015). The Operational Pattern
and Strategy of the Shrine under the Department of Provincial Administration, Ministry of the Interior Control in Samut Songkhram Province. Interdisciplinary Studies Journal. 15 (2) : 304 – 346.
Department of Provincial Administration. (2016). Shrines Under the
Ministry of Interior’s Rule (Online), Retrieved from www.dopa.go.th., January 18, 2016.
Division Plan and Policy Town Planning Office of Bangkok. (2011).
Study Report: Shrine of the Shrine in Bangkok in 2011. Bangkok: Division Plan and Policy Town Planning Office.
Podhisita, C. (2013). The science and art of qualitative research. 6th
ed. Bangkok: Amarin Printing.
Tuan Lee Zeng and Raisuwan, B. (2000). History of Chinese Temples
and Chinese Shrines in Thailand. Bangkok: Kaedthai.
Thammabanchong, N. and Sodsuk, N. (2013). The Economic and
Social Role of Chinese Shrines in Photharam Municipality, Photharam district, Ratchaburi province. Journal of Marketing and Communication, 1 (3) : 79 – 97.
Phatthanupawad R. (2008). The continuity and Change of Chinese
Shrine in Samut Songkhram Province. Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce.
Phetrak, S. (2002). Shrine Humans and God: Study of the
Relationship Between the Community and the Gods. Through Vegetarian Rituals Hainan Shrine. Surat Thani: Surat Thani Rajabhat University.
Jantawanit, S. (2010). The Methodology of qualitative Research.
18st ed. Bangkok: Samlada.