ข้อมูลสำหรับบรรณารักษ์

คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal)

วารสารการบริหารปกครอง  มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) และบทความวิชาการ (Review articles) ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสาขาอื่นๆ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม ผู้นิพนธ์ทุกท่านสามารถส่งบทความมาลงตีพิมพ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก หรือสังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  ผลงานที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยถูกนำไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน พร้อมทั้งได้รับการพิจารณาจากผู้ประเมินอิสระ (Peer review) จากภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้นๆ และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ บทความอาจถูกดัดแปลง แก้ไขคำ สำนวน และรูปแบบการนำเสนอตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร  ผู้นิพนธ์สามารถค้นรายละเอียดต่าง ๆ ของการเตรียมต้นฉบับได้

 

วิธีการเตรียมต้นฉบับ

  1. 1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก็ได้ องค์ประกอบต่าง ๆ ของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้จัดทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับนี้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์ และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยโดยไม่จำเป็น กรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยในวงเล็บภาษาอังกฤษ การปรากฏอยู่หลายที่ในบทความของศัพท์คำเดียวกันที่เป็นภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษให้ใช้คำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษเฉพาะครั้งแรก ครั้งต่อไปใช้เฉพาะคำศัพท์ภาษาไทยเท่านั้น บทนิพนธ์ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาก่อน
  2. 2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษ ขนาด B5 ตั้งค่าหน้ากระดาษสาหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ด้านละ 2 เซนติเมตร ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้า
  3. 3. รูปแบบตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้แบบ TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ขนาดตัวอักษรอย่างเดียวกัน ดังนี้ ชื่อเรื่อง ขนาด 18 pt. ชื่อผู้นิพนธ์ ขนาด 14 pt. ตัวปกติ หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา เนื้อความทุกส่วนใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ 
  4. 4. จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
  5. 5. ตาราง รูปภาพ ภาพลายเส้น แผนภูมิ และกราฟ (Tables, Picture, Figure, Diagram and Graph) ให้แทรกไว้ในเนื้อเรื่อง อาจจัดทำเป็นขาวดาหรือสีใดก็ได้โดยให้ผู้นิพนธ์คัดเลือกเฉพาะที่จาเป็นเท่านั้น เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตารางส่วนชื่อรูปภาพ แผนภูมิ และกราฟให้อยู่ด้านล่างพร้อมทั้งคาอธิบายสั้นๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน
  6. 6. การส่งต้นฉบับ ให้ผู้นิพนธ์นำส่งต้นฉบับผ่านระบบออนไลน์

 

ประเภทของต้นฉบับ

1. บทความวิจัย (Research articles) เป็นการนาเสนอผลการวิจัยอาจเป็น Concept paper หรือผลงานวิจัยที่สำเร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการด้วยตนเอง

1.1 ส่วนประกอบตอนต้น

1.1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัดแสดงเป้าหมายหลักของการวิจัย ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยก่อนใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย

1.1.2 ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors and Coauthors)  ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สาหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนให้ใช้หมายเลขกำกับตามลำดับและลงเครื่องหมายดอกจัน (*) พร้อมระบุสังกัด พร้อม e-mail address (กรณีเป็นนิสิต/นักศึกษาให้ระบุหลักสูตร สาขาวิชา และสถาบันการศึกษา)

1.1.3 บทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกินอย่างละ 250 คำ เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้นได้เนื้อหาสาระครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ควรเขียนแบบสั้น และตรงประเด็น ระบุเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้น (เขียนแบบ Indicative abstract) ไม่ควรเขียนตามรูปแบบที่เขียนในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือวิทยานิพนธ์ (เขียนแบบ Informative abstract) โดยให้ลำดับบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                        1.1.4 คำสำคัญ (Key Word) ให้ใช้คำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวแทนบอกวิธีการวิจัย ประเด็นที่วิจัย ผลการวิจัย สาขาที่ทำวิจัย การใช้ประโยชน์ หรือสถานที่ที่ทำวิจัย คำสำคัญนี้ให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษแต่ละชุดอย่างน้อย 3 คำ แต่ไม่เกิน 5 คำ โดยให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา

            1.2 เนื้อหาในบทความวิจัย

                        1.2.1 บทนำ (Introduction) อธิบายถึงภูมิหลังความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย รวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเหตุผลของการทาวิจัย

                        1.2.2 วัตถุประสงค์การวิจัย (Objectives) เป็นความเรียงเฉพาะประเด็นสำคัญของวัตถุประสงค์การวิจัยที่ครอบคลุมแนวทางการทำวิจัยทั้งหมด

                        1.2.3 สมมติฐานการวิจัย (Hypothesis) (ถ้ามี) เป็นความเรียงสมมติฐานเชิงพรรณนาหรือระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา

                        1.2.4 ขอบเขตการวิจัย (Scope) กาหนดกรอบความคิดการวิจัย (Conceptual framework) เป็นกรอบที่เป็นแนวทางการทำวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ตัวแปร และความสัมพันธ์ของตัวแปร พื้นที่และระยะเวลาการวิจัย

                        1.2.5 วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) ระบุแบบแผนการวิจัย เช่น การสำรวจ ศึกษาเอกสาร ทดลอง และอื่นๆ (Survey, documentary, experiment and etc.) และวิธีการดำเนินการวิจัย

                        1.2.6 ประชากร (Population) คุณลักษณะและจำนวนให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

                        1.2.7 ตัวอย่าง (Sample) หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง

                        1.2.8 เครื่องมือการวิจัย (Research instrument) ชนิดของเครื่องมือ วิธีการสร้าง การทดลองใช้ (Tryout) และการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย

                        1.2.9 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และระยะเวลาการรวบรวมข้อมูล

                        1.2.10 การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) (ถ้ามี) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                        1.2.11 ผลการวิจัย (Results) รายงานผลการวิจัยเฉพาะในความสำคัญ ชัดเจน และตรงประเด็น จากผลการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ในการวิจัย โดยยึดแนวทางตามวัตถุประสงค์การวิจัย ควรอธิบายผลการวิจัยด้วยคำบรรยายเป็นหลัก ถ้ามีตัวแปรที่ศึกษาหรือตัวเลขมากให้นำเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ แทรกในเนื้อหา พร้อมอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วนอย่างสั้นๆ

                        1.2.12 การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการแสดงความเห็นว่าผลการวิจัยสอดคล้องหรือแตกต่างจากวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ หรือผลงานวิจัยที่ผู้รายงานไว้ก่อนอย่างไร เป็นเพราะเหตุผลใด มีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลงานวิจัยอะไรสนับสนุน

                        1.2.13 สรุปผลการวิจัย (Conclusion) เป็นการสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญที่เกิดจากการทำวิจัย

                        1.2.14 ข้อเสนอแนะเพื่อนาผลการวิจัยไปใช้ (Suggestion) นำเสนอผลการวิจัยที่เด่นชัดสมควรนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และแนวทางการทำวิจัยต่อไป

                        1.2.15 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) ให้ระบุสั้นๆ ว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนหรือได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรและบุคคลใด

                        1.2.16 เอกสารอ้างอิง (References) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้นิพนธ์ได้นำมาอ้างอิงในบทความวิจัยอย่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิง APA Citation Style ดูรายละเอียดและตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อความและการอ้างอิงท้ายเล่มตามข้อ 3 และข้อ 4 

  1. 2. บทความทางวิชาการ (Review articles) เป็นบทความที่ผู้วิจัยได้เรียบเรียงโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารงานแปล และผลงานจากประสบการณ์ของผู้วิจัยหรือถ่ายทอดจากผู้อื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ องค์ความรู้การเสนอความคิดเห็นที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทางวิชาการของสาขาต่าง ๆ

2.1 ส่วนประกอบตอนต้น

2.1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้เป็นภาษาไทยก่อนใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย

                        2.1.2 ชื่อผู้วิจัย (Authors and Coauthors) ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สาหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนให้ใช้หมายเลขกำกับตามลำดับและลงเครื่องหมายดอกจัน (*) พร้อมระบุสังกัด พร้อม e-mail address (กรณีเป็นนิสิต/นักศึกษาให้ระบุหลักสูตร สาขาวิชาและสถาบันการศึกษา)

                        2.1.3 สาระสังเขป (Summary) เป็นการย่อเนื้อความของบทความทั้งเรื่องให้สั้นได้เนื้อหาสาระครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยเขียนไม่เกินอย่างละ 250 คำ ให้ลำดับสาระสังเขปภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยสาระสังเขปภาษาอังกฤษ

                        2.1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้ใช้คาที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นตัวแทนบอกวิธีการ สิ่งที่ศึกษาผลการศึกษา สาขา การใช้ประโยชน์ และสถานที่ คำสำคัญ ให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทย และภาษาอังกฤษแต่ละชุดอย่างน้อย 3 คำ แต่ไม่เกิน 5 คำ

            2.2 เนื้อหา (Main texts) ในบทความทางวิชาการมีองค์ประกอบดังนี้

2.2.1 บทนำ (Introduction) กล่าวถึง ความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอ ก่อนเข้าสู่เนื้อหา

                        2.2.2 เนื้อความ (Content) ควรนำเสนอพัฒนาการของเรื่องได้อย่างน่าสนใจและเนื้อเรื่องมีเนื้อหาใหม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

                        2.2.3 สรุป (Conclusion) เป็นการย่อเฉพาะข้อมูลจากเนื้อความให้สั้น ได้เนื้อหาสาระของเนื้อความครบถ้วน

            2.3 เอกสารอ้างอิง (References) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้นิพนธ์ได้นามาอ้างอิงในบทความวิชาการอย่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิง APA Citation Style ดูรายละเอียด และตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อความและการอ้างอิงท้ายเล่มตามข้อ 3 และข้อ 4 

 

การอ้างอิง

  1. 1. การอ้างอิงในเนื้อความ การอ้างอิงในเนื้อความเป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author date in text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหน้าที่อ้างอิงเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้างอิง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น ดังนี้

                        1.1 การอ้างอิงชื่อบุคคล คนไทยให้ลงชื่อตัวและนามสกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล

ตัวอย่างการอ้างอิง

ผู้แต่ง 1 คน (ศิวัช ศรีโภคางกุล, 2552: 10)

ผู้แต่ง 2 คน (ยศ สันตสมบัติ และ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2545: 66)

 ผู้แต่ง 3-5 คนให้ใส่ชื่อทุกคน (สุจริต เพียรชอบ, สายใจ อินทรัมพรรย์ และ สายใจ สุวรรณธาดา, 2548: 5)

ผู้แต่งมากกว่า 6 คน (สุวกิจ ศรีปัดถา และคณะ, 2550: 145)

                        1.2 ชื่อนิติบุคคล หน่วยงาน องค์กร ที่ทาเอกสารให้ระบุชื่อหน่วยงานตามที่ปรากฏ ตัวอย่างการอ้างอิง (สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, 2549)

  1. 2. เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม โดยรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้นิพนธ์ได้ใช้อ้างอิงในเนื้อความ พร้อมจัดเรียงรายการเอกสารตามลำดับอักษรของผู้แต่ง และให้ใช้การอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association Citation Style) ดังนี้

 

หนังสือ (Book)

รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สานักพิมพ์.

ตัวอย่าง มัทนา หาญวิทย์ และ อุษา ทิศยากร. 2535. เอดส์การดูแลรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดีไซร์.

บทความจากหนังสือที่มีผู้วิจัยเฉพาะบท (Book Article or Chapter)

รูปแบบ ชื่อผู้วิจัยบทความ. ปีที่พิมพ์. “ชื่อบทความ/บท/ตอน.” ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สานักพิมพ์, หน้า.

ตัวอย่าง ปรเมศวร์ ชัยประสิทธิกุล. 2534. “โปลิโอไวรัส ไวรัสก่อโรคประสาท.” ใน พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ (บรรณาธิการ). ไวรัสวิทยาฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: แม็ค, หน้า 117-121.

บทความจากวารสารหรือนิตยสาร )Journal or Magazine Article)

                        รูปแบบ ชื่อผู้วิจัยบทความ. ปีที่ตีพิมพ์. “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร ปีที่ (ฉบับที่): หน้า.

                        ตัวอย่าง สุวกิจ ศรีปัดถา. 2555. “ภาวะผู้นากับการตัดสินใจ.” วารสารคณะ รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 1 (1): 1-15.

บทความจากหนังสือพิมพ์ )Newspaper Article)

                        รูปแบบ ชื่อผู้วิจัยบทความ. ปีที่พิมพ์. “ชื่อบทความ.” ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าซึ่งปรากฏบทความ.

                        ตัวอย่าง ผาสุก อินทราวุธ. 2544. “สังคมชนชั้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศจีน.” กรุงเทพธุรกิจ, หน้า 6-7.

            บทความจากฐานข้อมูลอินเตอร์เน็ต )Article from an Internet Database)

                        รูปแบบ ชื่อผู้วิจัยบทความ. ปีที่เผยแพร่. “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร ปีที่ (ฉบับที่). วันที่ทาการ สืบค้น จากแหล่งข้อมูล/สารนิเทศ.

                              ตัวอย่าง Mershon, D. 1998. “Startrek on the Brain: Alien Minds, Human Minds.” American Scientist 86 (585). Retrieved July 29, 1999 from Expanded Academic ASAP database.