รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของผู้ใช้น้ำ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ผู้แต่ง

  • Kotchakorn Dechakhamphu
  • Yupaporn Yupas
  • Saovalak Kosonkittiampon
  • Wittaya Charoensri

คำสำคัญ:

รูปแบบ; การพัฒนาการมีส่วนร่วม; การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) ได้แก่ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้น้ำที่ขึ้นทะเบียนกับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องพระราชดำริ ในปี 2558 จำนวน 280 กลุ่ม ใช้แปรแกรมลิสเรล (LISREL) 8.50 ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของผู้ใช้น้ำ และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการประชุมกลุ่มย่อยจากกลุ่มเป้าหมายที่ถูกเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย นักวิชาการ จำนวน 5 คน ผู้ใช้น้ำ จำนวน 21 คน เจ้าหน้าที่ชลประทาน 2 คน และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยรวมต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของผู้ใช้น้ำสูงที่สุด คือ ความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ใช้น้ำ รองลงมาคือ การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ความพึงพอใจของผู้ใช้น้ำ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารการจัดการน้ำ การรับรู้ปัญหาการจัดการน้ำ บทบาทผู้นำกลุ่ม และความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้น้ำ ในการสร้างรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พบว่า ปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ถูกพัฒนาเป็น 3 ปัจจัยหลัก 1) ปัจจัยภายในกลุ่มผู้ใช้น้ำ: การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม 2) ปัจจัยภายนอกกลุ่ม: การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 3) ปัจจัยภายในผู้ใช้น้ำ: การพัฒนาผู้ใช้น้ำ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิตติชัย รัตนะ. 2550. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำห้วยแม่ท้อ จังหวัดตาก. ในการประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน.. ครั้งที่ 9 (363-371). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2547. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการอนุวัติตามแผนปฏิบัติการ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ไทยกราฟฟิคแอนด์พริ้นท์จำกัด.
เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. 2552.การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนลุ่มน้ำสะแกกรังจังหวัดอุทัยธานี. ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาสังคม). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐนรี ศรีทอง. 2552. การเพิ่มศักยภาพภาวะความเป็นผู้นำในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ถวิล บุรีกุล . 2552. พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน : จากอดีต จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เอ.พี. กราฟิก ดีไซน์และการพิมพ์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2542. โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราธิป จำรัสรักษ์. 2554. รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน. ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชัย งามวิโรจน์, นเรศ เชื้อสุวรรณ, วรรณรัฐนา อดิเรกตระการ และ
สมทรง เจริญภัณฑูรณ์. 2551. การเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและป่าต้นน้ำ: กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำมูล. (รายงานผลการวิจัย). สำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ.
บุญชัย งามวิโรจน์ และคณะ. (2552). การเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและป่าต้นน้ำ กรณีศึกษา ลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำชายฝั่งตะวันออก. (รายงานผลการวิจัย). สำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ.
บุญทิวา พวงกลัด. (2558). การประเมินเครื่องมือธรรมาภิบาล : การมีส่วนร่วมและ
การเสริมแรงพลังชุมชน. วารสารการบริหารปกครอง, 4 (1): 121 – 140.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของ
นักพัฒนา. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชาญ อมรากุล, บัณฑิต ผังนิรันดร์ และอนุชาต อนุกุลอำไพ. (2554). บุพปัจจัยและผลลัพธ์ของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงบูรณาการในการลดข้อขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่โขงส่วนที่ 1 และกก. วารสารวิจัย มข.(บศ.) 11(1) : 95-102
วีณา นำเจริญสมบัติ และเกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒ์. (2551).“โมเดลรั้งผึ้ง” รูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สมลักษณา ไชยเสริฐ. (2549). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์.
สรวิชญ์ ทิพรัตน์เดช. (2555). การพัฒนาการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การวางแผนและพัฒนาชุนบท). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สุจริต คูณธนกุลวงศ์, เปี่ยมจันทร์ ดวงมณี และ ปิยธิดา ห้อยสังวาลย์. (2556). แนวคิดความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ ประเทศไทยกับนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ : จรัสนิทวงศ์การพิมพ์.
Alam., A., Kobayashi, H., Matsumura, I., Esham, M., Faridullah., &
Siddigh, B.B. (2012). Factors Influencing Farmers’ Participation in Participatory Irrigation Management: A Comparative Study of two Irrigation Systems in Northern Areas of Pakistan. Journal of Social Sciences 3(9): 217 -280
Asian Development Bank. (2012). Participatory Irrigation
Management How can participation contribute to the
sustainable management of irrigation and drainage
systems for agriculture?. Retrieved from think-asia.org/bitstream/handle/11540/3337/ll-irrigation.pdf?sequence=1.html, April 11, 2017
Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. 1981. Rural Development
Participation : Concept and Measures for
Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University.
Ros., B. (2010). Participatory Irrigation Management and the Factors
that Influence the Success of Farmer Water User Communities : A Case Study in Cambodia. (Master’s thesis). Applied Science in Environmental Management, Massey University, New Zealand.
Faham, E., Hosseini, S.M & Darvish, A.K. (2008). Analysis of Factors
Influencing Rural People's Participation in National Action Plan for Sustainable Management of Land and Water Resources in Hable - Rud Basin, Iran. American Journal of Agricultural and Biological Sciences 3(2): 457- 461.
Chandran, K. M., & Chackacherry, G. (2004). Factors influencing farmer
participation in irrigation management. Journal of Tropical Agriculture 42 (1-2): 77-79.
Bagherian, R., Abu Samah, B., Abu Samah, A. & Ahmad, S. (2009). Factors Influencing Local People’s Participation in Watershed Management Programs in Iran. American - Eurasian Journal Agricultural.& Environmental Science 6 (5): 532-538.
Rezaei., R., Gholifar, E. & Sharifi, O. (2010). The effects of social capital on farmers’ tendency to participate in the water users associations (Case study: Zanjan county). Journal of Food, Agriculture & Environment 8 (3 - 4): 1065 – 1071.
Khalkheili., T. A, Zamani. G.H. 2009. Farmer participation in irrigation management: The case of Doroodzan Dam Irrigation Network, Iran. Journal agricultural water management 96(5): 859 865.
Uchino, B. N., Cacioppo, J. T., & Kiecolt-Glaser, J. K. (1996). The relationship between social support and physiological processes: A review with emphasis on underlying mechanisms and implications for health. Psychological Bulletin, 119, 488-531.
Zack, M.H. 1999. Developing a Knowledge Strategy. California Management Review 41(3): 125 – 145

Translated Thai References

Amarakul, V., Pungnirund, B. and Anukulampai, A. (2011). Antecedents
and Outcomes of Integrated Water Resources Management in Community Conflicts Resolution of the Mekong Part I and Kok Basins. KhonKaen University Research Journal (GS) 11 (2): 95-102
Awiruthwongkul, W. and Malaithong. T. (2007). The Development of
Community’s Strength Index. Journal of Economic and Social. 44(1): 40 - 47.
Butreekul, T. (2009). People’s Participation Dynamic: From the
Past to The Constitution of the Kingdome of Thailand 2007. Bangkok: A.P. Graphic Design and Printing.
Chaiyasert. S. (2006). Community Development. Bangkok:
Odienstore.
Jongkatkorn, C. (2009). The Development of the Community
Participation Model on Water Resource Management: A
Case Study of the Community of Sakekrang Basin,
Jongwisan, R. (2013). Leadership Role, Theory, Research and
Procedure to Development. The 2nd Publication. Bangkok: Chulalongkorn University.
Jumrasrak, N. (2011). Operation Model Development of Financial
Institution of Community. (Doctorial dissertation). Education Philosophy. Rajabhat Mahasarakham.
Kokphol, A. (2009). Intimated Friend, Manual of Participation for Local Administrator. Bangkok: Charunsanitwong Printing.
Koonthanakul, S., Duanmandee, P. and Hoisangwan, P. (2013). Concept, Stability of Water Resources of Thailand and International. Bangkok. The Thailand Research Fund and Kasetsart University.


Ministry of Natural Resources and Environment. (2004). The Completed Report of The 21th Approved Operational Plan and Sustainable Development. Bangkok: Thai Graphics and Printing Limited.
Ngamwirot, B., Chuasuwan, N., Adirektrakan, W. and Charoenphanthoon, S. (2008). Reinforcement and Participatory Process of the Local Community on Water Management and Watershed Forest: A Case Study of Nam Mun River Basin. (Research Report). Office of Development and Flooding, Water Resources Department.
Ngamwirot, B., Jattawaporwanit, P., Adirektrakan, W., Sawanchurit A., Wongseri, N., Noppkunkhachon, C. and Wirasri R,. (2009). Promotion and Participatory Process Development of the Local Community on Water resources Management and Water Shed Forest: A Case Study of Ping River Basin and East Coast River Basin. (Research Report). Research Development Office and Flooding, Water Resources Department.
Numcharoensombhat, W. and Rurkpornpiphat, K. 2008. “Beehive Model”: Natural Resources Management and Environment in Community. Bangkok: Community Development Institution (Public Organization).
Puanglad, B. (2015). Evaluation Governance Measure : Participation and Empowerment. Governance Journal, 4 (1): 121 – 140.
Rattana, K. (2007). Participation of Community on Huay Mae ThoRiver Basin in Tak Province. The 9th National Academics Conference of Kasetsart University, at the Kampaengsaen campus. (363-371). Nakhon Phathom: Kasetsart University at the Kampaengsaen campus.
Serirat, S. (2009). Marketing Management. Bangkok: Thammasarn.
Srithong, N. (2009). Increasing the Leadership Potential of Community Development. Bangkok: Odien Store.
Thipparatanadetch, S. (2013). Participatory Development and Water
Users Organization Empowerment In Irrigation Management
of Mae Faek-Mae Ngat Operation and Maintenance Project, Sansai District, Chaiangmai. (Doctorial dissertation). Planning and Development. Maejo University.
Walaisathianm. P., Obun, S. Wised, S. Bangathab, C. and Hachanraree, C. (2000). Process and working technic of Developers. Bankok . Usakanpim.
Wiratchai, N. (1999). Mode LISREL: Statistics for Research. The 3rd Publication. Bangkok: Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-21