การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาบ้านทับปลา ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • Tawatchai Kahaban

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจชุมชน; หมู่บ้านประมง; การวิจัยแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงบ้านทับปลาอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาบ้านทับปลา  ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาและศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน2)ศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงอย่างมีส่วนร่วม และ 3)ศึกษารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงอย่างมีส่วนร่วม  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย นักวิจัยชุมชน และชาวบ้านทับปลา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านทับปลา มีสภาพปัญหาเศรษฐกิจชุมชน 4 ประการ ได้แก่  1)ค่าใช้จ่ายครัวเรือนและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 2) รายได้ไม่แน่นอน 3) ปัญหาหนี้สิน และ4) ความไม่มั่นคงในด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ในด้านศักยภาพของเศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2)ด้านการประมงพื้นบ้านและแปรรูปปลา 3) ด้านการตลาด 4) ด้านเครือข่าย 5) ด้านการเลี้ยงสัตว์ 6) ด้านหัตถกรรม และ 7) ด้านการแพทย์พื้นบ้าน  สำหรับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงอย่างมีส่วนร่วม ที่เกิดจากการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจชุมชน พบว่ามี 3 แนวทาง ได้แก่  1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการเพิ่มปริมาณปลา 2) เพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิตของคนในชุมชน  3) การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในเขื่อนลำปาว จากแนวทางดังกล่าว นำมาสู่การตัดสินใจดำเนินโครงการการพัฒนา และ มีการสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ จนเกิดรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงอย่างมีส่วนร่วม มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1)เพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิตของคนในชุมชน ควรวางแผนการบริหารจัดการกลุ่มให้เข้มแข็ง และ การวางแผนด้านการตลาด ส่วนการลดต้นทุนการผลิต ควรมีแผนส่งเสริมในระดับครัวเรือน และ2)การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการเพิ่มปริมาณปลาในแหล่งน้ำ ควรสร้างจิตสำนึกและการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้แก่องค์กรชุมชน และข้อเสนอแนะในการวิจัย ประกอบด้วย ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย  ควรตั้งกลุ่มและเครือข่ายอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน ควรมีการจัดระบบเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนที่มีระบบบริหารจัดการมากขึ้น ควรสร้างผู้นำรุ่นใหม่เพื่อให้เด็กและเยาวชนเข้ามาเรียนรู้และสืบทอดวิถีของชุมชน ควรสนับสนุนความรู้ในด้านการแปรรูป การออกแบบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์และการตลาดให้แก่กลุ่มในชุมชน

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ใจมานัส พลอยดี. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของ
ธุรกิจชุมชน: การเปรียบเทียบภาพรวมและภาพย่อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2553). แนวคิดเศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชน ใน สนั่น ชูสกุล
(บรรณาธิการ). เรื่องสังคมทางเลือกที่พึงปรารถนา. คณะกรรมการจัดงานมหกรรมประชาชนอีสานเพื่อปกป้องทรัพยากรชุมชนท้องถิ่น.
ณัฐวดี พัฒนโพธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกก
บ้านโนนนาค ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง, 6 (กันยายน 2560): 121 – 132.
ธนิต โตอดิเทพย์ และ ศักดินา บุญเปี่ยม. (2557). วิวัฒนาการเศรษฐกิจชุมชน
ชาวประมงปากน้ำประแสจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22 (39), 193-212.
ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2556). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. เชียงใหม่ :
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปนัดดา สุขเกษม. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ :
ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
มงคล ด่านธานินทร์. (2541). เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองเชิงระบบ. กรุงเทพฯ :
ซีเอ็ดยูเคชัน.
ยศ สันตสมบัติ. (2542).ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์,
สมคิด พรมจุ้ย. (2546). เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสานใต้ : ความอยู่รอดของชุมชน
ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 20(3)
: 53-58.
สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2540). การพัฒนาองค์กรชาวบ้านให้เข้มแข็ง.
ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ. (2543). การจัดทำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จังหวัดเลย (พ.ศ. 2542– 2544). วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 13(2)
พ.ค. – ส.ค. : 79-84.
Fitzgerald, J. and N, G. Leigh. (2002). Economic Revitalization:
Cases and Strategies for City and Suburb. California: SAGE Publications.

Translated Thai References

Danthanin, M. (1998). Systematic Self-reliant Community
Economy. Bangkok : Se-ed Ukation.
Natsupa, C. (2010). Economic and Cultural Community Concept,
Sanan Choosakul (Editor). In Alternative Social Desirable. Organizing Committee of the Isan People's ExhibitionTo protect local community resources.
Noisuwan, A. (2000). Self-reliant economic strategy in Loei Province
(1999 - 2001). Journal of Sukhothai Thammathirat, 13(2)
: 79-84.
Office of the National Economics and Social Development Board.
(2016). The twelfth national economic and social development plan (2017-2022). Office of the National Economics and Social Development Board, Prime Minister's Office.
Phatthanapho, N. (2017). The Potential Development of Reed Product
Making Group at Non Nak Village, Bua Ban, Yang Talat, Kalasin. Governance Journal, 6 (September 2017): 121 - 132
Ploydee, J. (1997). Factors Affecting the Success and Failure
of the Community Business in Comparison of Macro and Micro Levels (Khamkheankaew District, Yasothorn and Lansaka District, Nakhorn Si Thammarat) A Thesis of Master in Economics Chulalongkorn University
Promjui, S. (2003). The South I-san Villages' Community Economy :
Self-Reliance of Community Amid Changing Trend. Journal of Humanities and Social Sciences, 20(3) : 53-58.
Tacha-atic, S. and et. al. (1997). The Development of the
Comunity Organization to Strong. Khon Kaen: Research and Development Institute, Khon Kaen University.
Toaditape, T. and Sakdina B. (2014). Economic Evolution of
Prasae Fisheries Community in Rayong Province. Journal of Humanities and Social Sciences, 22(39) : 193-212.
Santasombat, Y. (1999). Biodiversity and Local Wisdom For
Sustainable Development. Chiang Mai : Nopburi Printing.
Sriwichailamphan, T. (2013). Community Economic Development.
Faculty of Economics Chiang Mai University.
Sukkaseam, P. (2005). Factors Affecting The Success Of Career
Groups : A Case Study of Muang District, Chachoengsao Provine. Master of Arts in Social Sciences for Development Graduate School, Rajabhat Rajanagarindra University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-21