ประสิทธิผลการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีน้ำมันขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
คำสำคัญ:
การบริหารงานเชิงประสิทธิผล; การบริหารท้องถิ่น; ภาษีน้ำมันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานเชิงประสิทธิผลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีน้ำมันขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสิทธิผลการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตแบบแบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในปรากฏการณ์นั้น เช่น ร่วมประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร ใช้การวิเคราะห์ตีความผลการวิจัยการตรวจสอบความถูกต้องของผลการวิจัยเพื่อสร้างข้อสรุปที่เหมาะสม ผลการวิจัยสรุปศึกษาสภาพการบริหารงานเชิงประสิทธิผลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีน้ำมันขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ว่า 1) ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในการจัดเก็บภาษีน้ำมันขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) การจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรมและเป็นภาษีที่ซ้ำซ้อน จากการเก็บข้อมูลภาษีน้ำมันเป็นภาษีที่ทุกคนต้องจ่ายหรือเป็นภาษีบังคับจ่ายโดยประชาชนจะปฏิเสธการจ่ายภาษีไม่ได้ 3) เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการทุจริต โดยเลือกปฏิบัติสองมาตรฐาน เห็นแก่พวกพ้อง 4) การจัดเก็บภาษีโดยไม่มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ประชาชนผู้เสียภาษีไม่มีโอกาสเข้าไปกำหนดอัตราภาษีน้ำมันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดได้เลย 5) การจัดเก็บภาษีน้ำมันยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ 6) การจัดเก็บขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร
Downloads
References
ให้ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : พีเอลิฟวิ่ง.
ดุษฎี สุวัฒวิตยากร. (2551). รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศ
ไทย. นนทบุรี: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
พาเกียรติ สมานบุตร และคณะ. (2553). โครงการวิจัยและพัฒนาเรื่องการ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บภาษีน้ำมันเอง.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ราเมศร์ เลิศล้ำ และ สิทธิชัย ตันศรีสกุล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชน
อำเภอเขาวงในการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง, 6 (1) : 469 - 481
Translated Thai References
Lertlum, R. and Sittichai T. (2017). Participation of the People of Khao
Wong District in the Administration of the Chief Executive of Kalasin Provincial Administrative Organization. Governance Journal, 6 (1) : 469 - 481
PattamSiriwat, D. (2008). Finance Local : Include Research to
Empower Local. Bangkok: PA Living.
Samanbutr, P and et al. (2010). Project of Research and
Development on Promoting and Supporting the Provincial Administration to Collect Tax on Own Oil. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Suwatawityakon, D. (2008). Income of Local Government
Organizations in Thailand. Nonthaburi : College of Local Government Development King Prajadhipok Institute.