ปัญหาของมาตรา 13 และ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ปัญหาของมาตรา 13 และ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ผู้แต่ง

  • Thanya Wongkamolchun
  • Poonsak Vaisumruaj
  • Poom Moolsilpa
  • Jait Satawornseelporn

คำสำคัญ:

ความเป็นกลาง, คำสั่งทางปกครอง, ศาลปกครอง

บทคัดย่อ

หลักความเป็นกลางหรือหลักความไม่มีส่วนได้เสีย จัดเป็นหลักกฎหมายทั่วไปในระบบกฎหมายปกครอง โดยหลักดังกล่าวได้ถูกบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จากการศึกษาพบว่ายังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการพิจารณาทางปกครองที่ไม่เป็นกลางตามมาตรา 13 และมาตรา 16 อยู่หลายประการ ได้แก่ 1.ปัญหาเกี่ยวกับการบัญญัติถึงกรณีการพิจารณาว่า กรณีใดขัดต่อหลักความเป็นกลางตามมาตรา 13 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยศึกษาและวิเคราะห์จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด กล่าวคือ “เหตุอื่น ๆ” หรือ “อย่างร้ายแรง” ในมาตรา 16 ยังคงมีความไม่ชัดเจน 2. ปัญหาเกี่ยวกับผลของคำสั่งทางปกครองที่ขัดหรือแย้งต่อหลักความเป็นกลาง เนื่องจากในส่วนผลของคำสั่งทางปกครองที่ฝ่าฝืนต่อหลักความเป็นกลางนั้น ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติไว้เลย โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักกฎหมายของหลักความเป็นกลางของฝ่ายปกครองในการออกคำสั่งทางปกครอง รวมถึงปัญหาของบทบัญญัติในมาตรา 13 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ผลการศึกษาพบว่าสมควรออกกฎกระทรวงมารองรับบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อสร้างความชัดเจนในการบังคับใช้หลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง การกำหนดผลทางกฎหมายในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหลักความเป็นกลาง รวมถึงกำหนดบทลงโทษแก่เจ้าหน้าที่ผู้เจตนาฝ่าฝืนหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเกี่ยวกับบทบัญญัติในเรื่องหลักความเป็นกลาง และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักความเป็นกลางในการออกคำสั่งทางปกครอง

คำสำคัญ : ความเป็นกลาง, คำสั่งทางปกครอง, ศาลปกครอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2554). กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2559). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทาง
ปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2540). กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง.
กรุงเทพมหานคร : จิรรัชการพิมพ์.
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ศาลปกครอง. (2556). หลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง.
กรุงเทพมหานคร: ศาลปกครอง.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2543). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน เสนอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2554). กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป. กรุงเทพมหานคร:
นิติราษฎร์.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2541). รวมบทความทางวิชาการ กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
เอกพงษ์ ตั้งวิชาชาญ. (2548). ความเป็นโมฆะของคำสั่งทางปกครอง: ศึกษา
เปรียบเทียบกฎหมายเยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษและไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Translated Thai References
Administrative Court. (2013). Administration’s Impartiality for
Administrative Procedure. Bangkok: Administrative Court. ente
Parkeerat W. (1998). Administrative law: General Category. Bangkok:
Nitirat.
Parkeerat W. (2000). Complete Research Report: Administrative
Procedures in the German Legal System. Proposed to the Office of the Council of State.
Ratanasakawong, K. (2011). Administrative Law. 8th editedth edition.
Bangkok: Winyuchon.
Sawaengsak, C. (2016). Legal Description of Administrative
Procedures. 11th edition. Bangkok: Winyuchon.
The Administrative Procedure Act B.E. 2539
Visarutpich, W. (1998). Include academic articles on the law on
Administrative Procedures in 1996. Bangkok: Winyuchon.
Wongwatanasan, C. (1997). Administrative Procedure Law. Bangkok:
Jirat Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30