แนวทางการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจโรงแรมในการนำนโยบายฮาลาลไปปฏิบัติในจังหวัดขอนแก่น
แนวทางการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจโรงแรมในการนำนโยบายฮาลาลไปปฏิบัติในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ศักยภาพ, การนำนโยบายฮาลาลไปปฏิบัติ, จังหวัดขอนแก่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการณ์การให้บริการฮาลาลของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดขอนแก่น (2) ศึกษาศักยภาพของธุรกิจโรงแรมในการนำนโยบายฮาลาลไปปฏิบัติ (3) แสวงหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพธุรกิจโรงแรมตามนโยบายฮาลาล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย ผู้ประกอบการและพนักงานโรงแรมในจังหวัดขอนแก่น 4 แห่งรวมทั้งสิ้น 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์การให้บริการของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่มีความพร้อมในการให้บริการสำหรับลูกค้าทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีโรงแรมใดที่จัดบริการเฉพาะตามหลักฮาลาล 2) ศักยภาพของธุรกิจโรงแรมในการนำนโยบายฮาลาลไปปฏิบัติ โรงแรมทั้งหมดไม่ได้มีการบริหาร การออกแบบตกแต่งและระบบการเงินแบบมุสลิม ทั้งนี้เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจหลักฮาลาล และ3)แนวทางการพัฒนาศักยภาพธุรกิจโรงแรมตามนโยบายฮาลาล ควรให้มีการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับวัฒนธรรมฮาลาล และโรงแรมจะต้องพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม
คำสำคัญ: ศักยภาพ; การนำนโยบายฮาลาลไปปฏิบัติ; จังหวัดขอนแก่น
Downloads
References
KHON KAEN AGR. J.40SUPPLMENT 2:87-94.
ฐิติมา วงศ์อินตา และคณะ. (2558) . การวิเคราะห์โซ่คุณค่าอาหารฮาลาล.วารสาร
การขนส่งและโลจิสติกส์ 8 (2558): 6-9
นฤมล จันทพันธ์. (2539). การประเมินผลการฝึกอบรมสตรีด้านการจัดบริการ
อาหารและธุรกิจการจัดร้านอาหารของศูนย์อาหารโภชนาการและการพัฒนาชนบทภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อภิชา พรเจริญกิจกุล และ รัชฏาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). การพัฒนา
รูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิง
สร้างสรรค์ของชุมชนบ้านประทุน ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, วารสารการบริหารปกครอง 6 (2)
HalalTrip and Muslim Travel Ware house are sister companies of
CrescentRating Pte. Ltd. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559 จาก(https://newsroom.mastercard.com/asia-pacific/files/2016/03/Report-MasterCard-CrescentRating-Global-Muslim-Travel-I)
Jurattanasan, A., & Jaroenwisan, K. (2014). The Attribution of Shariah
Compliant hotel in Muslim Countries. Review of Integrative Business and Economics Research, 3, 39.
Rosenberg, P., & Choufany, H. M. (2009). Spiritual lodging–The Sharia-
compliant hotel concept. HVS Global Hospitality Services–Dubai.
Samori, Z., & Sabtu, N. (2014). Developing halal standard for Malaysian
hotel industry: An exploratory study. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 121, 144-157.
Translated Thai References
Chanthapan, N. (1993). The Evaluation of Women Training in Food
Service and Restaurant BusinessManagement of Food Center and Southern Rural Development, Thesis of Master Degree in Education, Education for Rural Development. Songkla: Fuculty of Education, Songklanakarin University.
Pornjaroenkun, A. and Ratchadaporn K. N. (2017). Product Development
based on The Creative Economy Concept in to Value – Added of Pratoon Community, Surin, Governance Journal 6 (2)
Vonginta, T. et al. (2015). The Analysis of Halal Supply Chain.
Journal of Transportation and Logistics. 8th Series
2015. page 6-9
Wathanajan, C. (2012). Kaen Kaset 40 Special Issues 2-87-94(2012).
KHON KAEN AGR.J.40 SUPPLEMENT 2:87-94.