รูปแบบสภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รูปแบบสภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • Sakawduan Phimphisan
  • Saowalak Kosolkittiumporn
  • Songsak Jeerasombut

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์, ผู้บริหาร, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวชี้วัดของภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์ของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการวัดองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวชี้วัดของภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์ของผู้บริหารกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อยืนยันรูปแบบภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์ของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามแต่ละข้ออยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.321 - 0.542 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.873 โดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ทางสถิติ   
 ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวชี้วัดของภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์ของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 25 องค์ประกอยย่อย 148 ตัวชี้วัด จากการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงวุฒิและนักวิชาการ จำนวน 25 คน รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยรวมอยู่ที่ 4.55 ระดับมากที่สุด และการยืนยันรูปแบบจากการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ 

คำสำคัญ : ภาวะผู้นำเชิงเศรษฐศาสตร์; ผู้บริหาร; ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤษกนก ดวงชาทม. (2557). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาด
เล็กของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ
ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ. กระทรวงศึกษาธิการ
กานต์ บุญศิริ. (2557). ภาวะผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. วารสาร
บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8 (1) : มกราคม – เมษายน 2557.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียน
มาตรฐานสากล. กรุงเทพ ฯ. บุ๊ค พอยท์.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2546). ธรรมาภิบาลกับบทบาทของคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพ ฯ.
ปรีชา คัมภีรปกรณ์. (2536). เอกสารการสอนวิชา ชุดการบริหารทรัพยากร
การศึกษาไทย หน่วยที่ 1. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2551) . การบริหารสังคม ศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อ
สังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2540). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.
พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพ ฯ.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์.
กรุงเทพ ฯ. โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.
ศิริพงษ์ เศาภายน. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สัญญา เคณาภูมิ. 2555. เทคนิคการบริหารและภาวะผู้นำ. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลัง
นานาวิทยา.
Bass.B.M. 1990. The four Is Transformational Leadership.
Journal Of European Industrial Training, 15 (2).

Translated Thai References
Bunyasiri, K. (2014). Leadership with professional education. Graduate
School, University of Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage 8 (1) January-April 2014.
Duangchathom, K. (2014). The Study of the Basic Education Board’s
Participation in Administration of Small Schools under the Office of the Mahasarakham Primary Education Service Area 2. Master of Education Thesis (Educational Administration), Rajabhat Mahasarakham University.
Kenaphoom, S. (2012). Management Techniques and Leadership.
Khonkhean : Klungnanawitthaya Printing.
Khampirapakorn, P. (1993). Teaching Documents, Subject Series ;
Management of Thai Educational Resources, Unit 1. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University.
Meksawan, T. (2003). Good Governance and the Role of the Basic
School Board. Bangkok.
Ministry of Education. (2002). National Education Act 1999, and
Revised Edition (No. 2), 2002. Bangkok : Ministry of Education.
Phrathampidok (Po.or. Payutto). (1997). Education and Human
Resource Development. 2nd, Bangkok.
Rapeepisarl, W. (2011). Basic Knowledge in Human Resource
Management. Bangkok : Jithudthakorn Printing house.
Saophayon, S. (2008). Factors Affect the Performance Behavior of
School Administrators. Bangkok : Department of Educational Administration and Higher Education, Ramkhamhaeng university.
Sanguangnam, J. (2010). A Guide to International School Quality
Management. Bangkok.
Watthanasiritham, P. (2008). Management of Social Sciences of the
Century for Thai Society and World Society. Bangkok : Community Development Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30