องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • Sununtha Pakdeethai
  • Chirawat Nitchanet
  • Wanchai Dhammasaccakarn

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ; ตัวชี้วัด; ปัจจัยเชิงสาเหตุ; ความเป็นพลเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดความเป็นพลเมือง  ของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบ โดยการวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง จำนวน 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูล   เชิงประจักษ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 320 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 6 ระดับ ซึ่งแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์องค์ประกอบของความเป็นพลเมืองและวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น หรือ Path Analysis ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของความเป็นพลเมืองทั้ง 4 ตัวบ่งชี้ มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.76 - 0.75 และมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ตัวบ่งชี้ที่มีความสำคัญที่สุด คือ มีความรับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ ซึ่งมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากัน คือ 0.875 รองลงมาคือ มีวินัย ซึ่งมีค่านำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.831 ส่วนตัวบ่งชี้ ซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งมีค่านำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุด คือ 0.767 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับการปฏิบัติมาก ส่วนองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่ามีระดับการปฏิบัติมาก ทุกองค์ประกอบ สำหรับโมเดลความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เมื่อทำการปรับโมเดลจนได้โมเดลที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติดังนี้ χ2= 883.10, df = 253,    P-value = 0.000, CFI = 0.907, TLI = 0.889,  SRMR = 0.049, RMSEA = 0.088 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รับอิทธิพลโดยตรงจากตัวแปรเชิงสาเหตุที่สำคัญคือการรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลรวม ต่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สูงสุดคือการรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อ รองลงมา เป็นลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน โดยตัวแปรเชิงสาเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของ ความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ร้อยละ 74.00

 

คำสำคัญ :  องค์ประกอบ; ตัวชี้วัด;  ปัจจัยเชิงสาเหตุ;  ความเป็นพลเมือง

Downloads

Download data is not yet available.

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย. การวิจัย
ประยุกต์. เอกสารฉบับพิเศษในวันครบรอบปีที่ 33. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย
พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุบผา เมฆศรีทองคำ และอรรยา สิงห์สงบ (2552). สภาพการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
ของเด็ก และเยาวชนไทยตามช่วงพัฒนาการแห่งวัย : รายงานการวิจัย
ฉบับสมบูรณ์ กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช).

มนัสชนก คารวะพิทยากุล. (2552). การเปิดรับอินเทอร์เน็ตของนักเรียน
มัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิไลลักษณ์ ทองคำบรรจง และคณะ (2554).ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของพฤติกรรม
ติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพฯ: วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม 2554) :
103-119.

สุรีรัตน์ พัฒนเธียร. (2552).ตัวแบบความสามารถทางภาวะผู้นำครูในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน.วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์.

สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ (2552) โครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดีของเด็กและ
เยาวชนไทย.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม.คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครสรา สถาพรวจนา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนจากครอบครัว
บรรยากาศจริยธรรมในงาน กับความสุขในการทำงานของพยาบาล
วิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action. A
social cognitive theory.Englewood Cliffs. New Jersey:
Prentice-Hall.

Lieberman, A & Miller, L (2004), Teacher leadership, Jossey-Bass, San
Francisco.

Piko,Bettina F; & Hamvai,Csaba. (2010).Parent,School and Peer-Related
Correlates of Adolescents’ Life Satisfaction. Children and
Youth Services Review.

Translated Thai References

Bhanthumnavin, D. (1996).Ethical tree theory for Thai people.
Applied Research. Vol.33.Bangkok : Behavioral Science
Research Institute Srinakharinwirot University.

Karavapitayakul, M. (2009). The Exposure to the Internet of High
School Students in Bangkok Metropolis. Degree of Master of
Arts.Ramkhamhaeng University.

Makesrithongkum, B,and A. Singsangob.(2009).The situation of using
the internet media of Thai children and youth at various
stages of age development. Bangkok : National Research
Council of Thailand.

Phuttanatein,S. and Prompilai B. (2009). Model of teacher leadership
capacity in basic educational institutions. Department of
Education, Faculty of Education,
Kasetsart University.

Sathapornwajana, A.(2008).Relationships between family support,
ethical climate, and joy at work of professional nurses,
hospitals under the jurisdiction of the Ministry of
Public Health, Bangkok metropolis. Bangkok : Chulaiongkorn
University.

Thongkambunjong , W and et al (2011). Causal Factors and effect of
Internet Dependency Behavior of High School Students in
Bangkok Metropolis. Journal of Behavioral Science Vol. 17 No.
2 July 2011.

Wongwanich, S and et al. (2007). An Accelerated Project for Building
Good CharaDepartment of Edcter of Thai Children and
Youth. Department of Educational Research and Psychology,
Faculty of Education:Chulalongkorn University.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26