ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงาน ตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตภาคใต้

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงาน ตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตภาคใต้

ผู้แต่ง

  • Prachern Panaram
  • Chirawat Nitchanet
  • Nicom Charumanee

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการทำงาน; หลักธรรมาภิบาล; นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคใต้ ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาล        ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลัก        ธรรมาภิบาลกระบวนการวิจัยมี 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบโดยสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง จำนวน 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคใต้ จำนวน 570 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคใต้ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยพบว่าส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในระดับมาก ยกเว้นการรับรู้ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์และความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่มีการปฏิบัติระดับปานกลาง ส่วนองค์ประกอบของพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่ามีการปฏิบัติในระดับมากทุกองค์ประกอบสำหรับรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคใต้ รูปแบบที่ปรับแก้แล้วมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติดังนี้ X2= 560.47, df = 86, p-value = 0.00, CFI = 0.941, TLI = 0.928, SRMR = 0.030, RMSEA = 0.098. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลรับอิทธิพลโดยตรงจากตัวแปรเชิงสาเหตุที่สำคัญคือเจตคติในการทำงานขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลรวมต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลสูงสุดคือเจตคติในการทำงาน รองลงมาคือลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน โดยที่ตัวแปรเชิงสาเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาล ได้ร้อยละ 91.00

 

คำสำคัญ : พฤติกรรมการทำงาน; หลักธรรมาภิบาล; นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การทุจริตคอร์รัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :
มาตรการและกลไกการป้องกัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มิสเตอร์ก็อปปี้.
โกวิทย์ พวงงาม. (2557). การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างกลไก
การป้องกันการ ทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โกศล มีคุณ และณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลของการฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มี
ต่อ จิตลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมของครู.รายงานการวิจัย.กรุงเทพ:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555).แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนัก
นายกรัฐมนตรี.
คำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ. (2558). เรื่องแต่งตั้งและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อื่น. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ชาย โพธิสิตา.(2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ:บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย. การวิจัย
ประยุกต์. ฉบับพิเศษ ในวันครบรอบปีที่ 33. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย
พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมทางสังคม. เอกสาร
ประกอบการบรรยายวิชา พค.713. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธวัชชัย ศรีพรงาม. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทางาน
อย่าง ปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งทอและปั่นด้าย.
ภาคนิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลีสเรล :สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้ง
ที่3). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่3).
กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.
มูลนิธิส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2551). คู่มือการเรียนรู้ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (อปท.) พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วิชัย เอียดบัว. (2534). ลักษณะจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการยอมรับ
นวัตกรรมทางวิชาการของครูประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร.
ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิเชียร ธรรมาธร. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงาน
อย่างมีจริยธรรม ด้านอุทิศตนของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ.
วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์:ระบบพฤติกรรมไทย. 1(2).97-114.
วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. และคณะ. (2547). รายงานการวิจัยกรณีศึกษาบุคคล
ตัวอย่างและเครื่องชี้วัดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาพฤติกรรมข้าราชการยุค
ใหม่.รายงานการวิจัยฉบับที่ 100 สถาบันการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.
กรุงเทพฯ: สำนักงานข้าราชการพลเรือน.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี.(2532). ความแปลกแยกกับพฤติกรรมการทำงานของครูสังกัด
กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(พัฒนบริหารศาสตร์).กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภมาศ อังศุโชติ สมถวิล จิตรวรรณ และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติ
วิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ :
เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : เจริญ
มั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2550).
หลักสูตรสัมมนาเจ้าหน้าที่ของรัฐเรื่อง การป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพ : ศรีเมืองการพิมพ์.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action. A
social cognitive theory. Englewood Cliffs. New Jersey:
Prentice-Hall.
Diamantopoulos, A. & Siguaw. A.D.(2000). Introducing LISREL. A Guide for the Unitiated. London: Sage Publications.
Kohlberg, L. (1976). Moral Development and Behavior. New York : Richard and Winston, inc.Konovesky, M. A.; &Cropanzano, R. (1991).Percived Fairness of Employee Drug Testing as a Predictor of Employee Attitudes and Job Performance. Journal of Applied Psychology.76 : 698 – 707.
Maxwell,J.A.(1996). Qualitative Research Design: An Interactive Approach.California:Sage.
Muttalip M.A. &Khan.M.A.A.(1982).Theory of local government. New Delhi: Sterling.
Piaget, J. (1932). The moral Judgement of the child. London : Harcourt, brace.
United Nations Development Programme (UNDP). (2011). UNDP Chief. Poorest countries must have a say in shaping their future. Retrieved April 6, 2017, from http: // www. Undp. Org / content/ undp/ en/ home/ presscenter/ speeches undp-chief-poorest-countries-must-have-a-say-in-shaping-their-future.Html.

Translated Thai References
Aertbou, Vichai. (1991). Psychosocial correlates of academically
innovative behavior of primary school teachers under
Bangkok. Metropolitan administration. Bangkok: Graduate
School, Srinakharinwirot University.

Angsuchoti, S., Jittrawan, S., & Pinyopanuwat, R. (2011). Analytical
statistics for social research and behavioral sciences:
Techniques for the use of LISREL program (3rd ed.). Bangkok:
Charoen Munkong Printing.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action. A
social cognitive theory. Englewood Cliffs. New Jersey:
Prentice-Hall.

Bhanthumnavin, Duangduen. (1996). Moral tree theory for Thai
People. Applied Research. [Special issue]. Bangkok:
Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot
University.

Bhanthumnavin, Duangduen. (2001). Attitudes, values, and social
behaviors. [Class handout]. Bangkok: School of Social and
Environmental Development, National Institute of
Development Administration.

Chuawanlee et al. (2004). A case study of sample and indicators
leading to behavioral development of new government
officials. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

Diamantopoulos, A. & Siguaw. A.D.(2000). Introducing LISREL. A Guide
for the Unitiated. London: Sage Publications.

Fongsi, Pitsanu. (2010). Creating and developing research tools
(3rd ed.). Bangkok: Darnsutha Press Co., Ltd.

Kohlberg, L. (1976). Moral Development and Behavior. New York :
Richard and Winston, inc.Konovesky, M. A.; &Cropanzano, R.
(1991).Percived Fairness of Employee Drug Testing as a
Predictor of Employee Attitudes and Job Performance. Journal
of Applied Psychology.76 : 698 – 707.

Foundation of Local Administration Promotion. (2008). A learning
guide for local administrative organizations (2nd ed.).
Bangkok: Borpit Press.

Kijpredaborisuthi, Boontham. (2003). Analytical statistics for research
(3rd ed.). Bangkok: Chamchuri Products.

Maxwell,J.A.(1996). Qualitative Research Design:An Interactive
Approach.California:Sage.

Meekhun, K. & Thiammek, N. (2002). Effects of moral reasoning
training on moral characteristics and moral behaviors of
teachers. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.

Muttalip M.A. &Khan.M.A.A.(1982).Theory of local government. New
Delhi: Sterling.

National Economic and Social Development Board. (2002). The
Eleventh National Economic and Social Development Plan
(2012-2016). Bangkok: Prime Minister Office.

Nirundhawee, Sakchai. (1989). Alienation and job performance of
teachers in Bangkok metropolis (Doctoral dissertation).
Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.

Office of the National Anti-Corruption Commission. (2007). Prevention
and Suppression of Corruption in Local Government in
Thailand. Bangkok: Srimuang Printing.

Order of The Head of The National Council for Peace and Order. (2015).
Appointment and authorization for government officials in
holding a position and performing other duties. Bangkok:
Prime Minister Office.

Podhisita, Chai. (2007). Sciences and arts of qualitative research
(3rd ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing PCL.

Puang-ngam, Kowit. (2011). Corruption in local administrative
organizations: Measures and mechanisms of protection.
Bangkok: Mister Copy Press.

Puang-ngam, Kowit. (2014). Guidelines for development and
strengthening of anti-corruption mechanisms in local
administrative organizations. Bangkok: Thammasart University.

Thammathorn, Vichian. (2004). Psychosocial factors related to ethical
behaviors regarding dedication of government officials of
The Directorate of Personnel. Journal of Behavioral Science:
Thai behavioral system, 1(2), 97 – 114.

Thawatchai Sriporn Ngarm (2004). Psychological factors related to the
security of Textile and Spinning. Factory Master's degree
thesis National Institute of Development Administration

United Nations Development Programme (UNDP). (2011). UNDP Chief. Poorest countries must have a say in shaping their future. Retrieved April 6, 2017, from http: // www. Undp. Org / content/ undp/ en/ home/ presscenter/ speeches undp-chief-poorest-countries-must-have-a-say-in-shaping-their-future.Html.

Wiratchai, Nonglak. (1999). LISREL model: Analytical statistics for research (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)