การจัดการปกครองแบบเครือข่ายของศูนย์ปฏิบัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

การจัดการปกครองแบบเครือข่ายของศูนย์ปฏิบัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • Tossaphon Senamontri
  • Grichawat Lowatcharin

คำสำคัญ:

การป้องกันยาเสพติด; การจัดการปกครอง; เครือข่าย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาการจัดการปกครองแบบเครือข่าย เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการปกครองแบบเครือข่าย และเพื่อหาแนวทางพัฒนาการจัดการปกครองแบบเครือข่ายของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษากรณีเดียว ด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนทั้งสิ้น 21 คน

ผลการศึกษาพบว่า คณะกรรมการที่มาจากหน่วยงานที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่ต่างมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน เนื่องจากทุกหน่วยงานจะต้องขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่อันก่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือประชุมเป็นประจำ  อย่างไรก็ตาม ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังไม่มีการจัดการปกครองแบบเครือข่าย เนื่องจากคณะกรรมการมีความแตกต่างทางด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ให้การให้ความสำคัญกับปัญหายาเสพติดที่แตกต่างกัน  นอกจากนั้น ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดยังประสบปัญหาอื่น ได้แก่ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ มีการโยกย้ายข้าราชการเป็นประจำทำให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่อง      ขาดการสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ และระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างไม่สอดคล้องกับการทำงานเชิงพื้นที่  สำหรับแนวทางการพัฒนา ควรสร้างเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม เพิ่มบุคลากรให้เพียงพอ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีมาตรการในการควบคุมการใช้วัสดุอุปกรณ์ และกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับการทำงานจริง

คำสำคัญ: การป้องกันยาเสพติด; การจัดการปกครอง; เครือข่าย

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย. (2547). รายงานการวิจัยสถานการณ์เครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

คำสั่งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ. (2558). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2559.

จิรประภา อัครบวร และประยูร อัครบวร. (2552). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย Governing by Network. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาระบบบริหารสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

จันทรนันท์ เหล่าพันนา. (2546). ขบวนการสร้างเครือข่ายการพัฒนาองค์กรชุมชนของอําเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จำนงค์ แจ่มจันทรวงษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบเครือข่าย เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ต่วนเปาซี กูจิ. (2554). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย: กรณีศึกษาสลาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

วิชัย แสงศรี. 2552. การศึกษาวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาในเขตพื้นที่ชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรัญญา จุฑานิล. (2556). การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สอาดจิต เพ็ชรมีศรี. (2551). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการจัดการความรู้ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). Government by Network The New Public Management Imperative by Williams D. Eggers & Stephen Goldsmith. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

สุภางค์ จันทวานิช. (2543). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริชาติ จงจิตต์. (2550). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพลังงานทางเลือกของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาชนเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง.
กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

เอกพงศ์ ไทรพุฒทอง. (2549). การพัฒนาเครือข่ายการทำงานสายปฏิบัติการระหว่างองค์กรของสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกับสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Translated Thai References

Akarabaworn, J. and Akarabaworn, P. (2009). Governing by Network. Bangkok: Management System Development Group Office of the Public Sector Development Commission.

Apakaro, S. (2004). Network: Natural Knowledge and Management. Bangkok: Project for promoting learning for the happiness community.

Chareonwongsak, K. (2000). Network Management: Key Strategies for the Success of Educational Reform. Bangkok: Success Media.

Division promotion and development network. (2004). Research Report on the Situation of Children, Juveniles, the Underprivileged, the Disabled, and the Elderly. Bangkok: Office of Welfare Promotion And youth protection Ministry of Social Development and Human Security.

Guji, T. (2011). Government administration in the form of a network.: Case study, Southern Region Community Enterprise Development Institute. Master’s Thesis Ramkhamhaeng University.

Jamjantarawong, J. (2010). Development of network management model. To promote the quality of education in basic education institutions. Under the Office of Educational Service Area, Bangkok. Doctoral dissertation Chulalongkorn University.

Jantavanich, S. (2000). Qualitative Research Methodology. 9th edition. Bangkok: Printing house of Chulalongkorn University.

Jongjit, S. (2007). Development of a learning network for alternative energy development in the community. Doctoral dissertation Chulalongkorn University.

Juthanil, S. (2013). Network management of Community development institute Northeastern operational office. Master’s Thesis National Institute of Development Administration.

Keurthep, W. (2007). Network: Work innovation of Local administration. Bangkok: The Thailand Research Fund.

Laopanna, C. (2003). Community Organization Development Network of Wong Yai District, Khon Kaen Province. Master’s Thesis National Institute of Development Administration.

Office of the Pubic Sector Development Commission. (2005). Government by Network The New Public Management Imperative by Williams D. Eggers & Stephen Goldsmith. Bangkok: Office.

Order of the National Center for Narcotics Control. (2015). Action Plan to prevent and solve drug problems in 2016. Nation Narcotics Control Management Center.

Phetmeesi, S. (2008). Development of a network of academic administration model based on the knowledge management concept of nursing colleges Ministry of Defense. Doctoral dissertation Chulalongkorn University.

Pongpis, S. (2005). Networking: Tactics for Intensive Citizens Strong community. Bangkok: Charoen Wit Printing.

Sangsri, W. (2009). A Study of Analysis and Developmaent of The Network Management model for Educational Institutions in The Northeast Country Area. Doctoral dissertation Chulalongkorn University.

Virachniphan, V. (2007). Management and Development Management. Bangkok: Expernet Company Limited.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26