สภาพการบริหารการพัฒนาและปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร
สภาพการบริหารการพัฒนาและปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
สภาพการบริหารการพัฒนา; ปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามบทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการบริหารพัฒนาและปัญหาของการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการพัฒนา 2) ศึกษาปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การศึกษาเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการครามที่มาร่วมงานซิ่นโลก มหกรรมมูนมังอีสาน เพื่อพัฒนาบ้านสู่สากล สืบสานผ้าพื้นบ้าน สายงานประณีตศิลป์รณรงค์นุ่งซิ่นร่วมงานมูนมังอีสาน ปีพ.ศ.2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มประชากรเป็นผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ดาวเด่น มีคุณภาพ จำนวน 58 คน ศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยสภาพการบริหารการพัฒนา พบว่า ระดับนโยบายมีการกำหนดยุทธศาสตร์ระดับประเทศจนถึงระดับจังหวัด และมีการสนับสนุนการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติด้วยการยกระดับภูมิปัญญาสกลนครให้เป็นเมืองแห่งผ้าย้อมครามธรรมชาติ (City of indigo dye) และเมืองสมุนไพร (Herbal valley) ส่งเสริมการท่องเที่ยว "ย่านเมืองเก่าสกล ถนนผ้าคราม” ส่งเสริมผู้ประกอบการในการจัดช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งภายใน ภายนอกจังหวัด และในต่างประเทศ จัดกิจกรรมแสดงสินค้าครามสัญจรทั่วประเทศ จับคู่ธุรกิจ (Matching) ผู้ซื้อพบผู้ขาย และส่งเสริมการจัดส่งสินค้าครามสู่ผู้บริโภคด้วยความสะดวก รวดเร็วและรักษาคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน
ผลการจัดเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มาจากอำเภออากาศอำนวย ใช้ชื่อกลุ่มเป็นตราชื่อผลิตภัณฑ์ ลักษณะการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนมากที่สุด ผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าผืน ผ้าซิ่น การจัดส่งผลิตภัณฑ์สู่ลูกค้าใช้การจัดส่งสินค้าด้วยไปรษณีย์ ส่งทางรถยนต์มากที่สุด ต้นทุนเฉลี่ยต่อเดือนเป็นค่าวัตถุดิบ ค่าเส้นฝ้าย ค่าเนื้อคราม ค่าย้อม ค่าทอ ค่ามัดหมี่ ค่าเดินทาง ประมาณ 25,000 บาทต่อเดือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 45,000 บาท ตลาดหลักเป็นตลาดในประเทศมากที่สุด และจำหน่ายในตลาดต่างประเทศร่วมด้วย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฝรั่งเศส อินเดีย และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน ซื้อไปใช้เอง ของฝากมากที่สุด รองลงมาซื้อเพื่อการจำหน่าย มีที่เปลี่ยนตราเป็นยี่ห้อของผู้จำหน่าย และใช้ตราผู้ผลิต พบปัญหามากที่สุดด้านคู่แข่งที่มีมากขึ้น จากการส่งเสริมและรณรงค์ใช้ผ้าครามทุกวันอังคารและวันศุกร์ กระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อ ส่งผลให้เกิดกลุ่มผู้ประกอบการครามในจังหวัดสกลนครมากยิ่งขึ้น ปัญหารองลงมา คือการกระจายสินค้า การตัดสินใจซื้อจากสื่อโซเชียลมากขึ้น ทำให้เข้าถึงลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้มากขึ้น ปัญหาด้านนวัตกรรม พบว่า มีการผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดอยู่เสมอกลายเป็นปัญหาของผู้ประกอบการรุ่นเก่า ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจผ้าครามควรตระหนักและศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของตนเองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน สร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อเกิดความพึงพอใจต่อผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง
คำสำคัญ : สภาพการบริหารการพัฒนา; ปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์คราม
Downloads
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2555). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ
ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้านการจัดทำแผนธุรกิจ. กรุงเทพฯ :
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทย.
กุลธิดา อุปพงษ์. (2560, พฤศจิกายน 26). ผู้ประกอบการสุขชมอำเภอเมืองจังหวัด
สกลนคร. สัมภาษณ์.
จินตนา หนูณะ. (2546). หนังสือภูมิปัญญาพื้นบ้านสืบสานพัฒนาไทยที่ระลึกงาน
ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยวลัย
ลักษณ์. นครศรีธรรมราช.
จีรวัฒน์ ภูจิตร. (2560, ธันวาคม 11). ผู้ร่วมงานสกลเฮ็ด อำเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร. สัมภาษณ์.
จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว. (2556). Millennial Generation. กรุงเทพธุรกิจ. ค้นเมื่อ 23
ธันวาคม 2560 จาก
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/517054.
ชุติมา ศรีสวัสดิ์. (2559, พฤษภาคม 3). ผู้ประกอบการนิภาพร อำเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร. สัมภาษณ์.
ประไพ ทองเชิญ และคณะ (2552). วิจัยเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูกระบวนการย้อม
ครามในวิถีพื้นบ้านภาคใต้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย : กรุงเทพ.
ปริฉัตร ภูจิตร. (2560, ธันวาคม 30). ผู้ร่วมงานสกลเฮ็ด อำเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร. สัมภาษณ์.
พิกุล พรหมมหากุล. (2559, พฤษภาคม 18). ผู้ประกอบการครองวิถีอำเภอพรรณนา
นิคม จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.
_____________. (2560, ธันวาคม 25). ผู้ประกอบการครองวิถีอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.
พิกุล พรหมมหากุล. (2560, ธันวาคม 28). ผู้ประกอบการครองวิถีอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.
รุณณี จันทร์วิภาค. (2560, ธันวาคม 20). ผู้ประกอบการรุณณีอำเภอพรรณนานิคม
จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.
สำนักงานจังหวัดสกลนครกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
(2559). ร่างแผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี พ.ศ. 2561 – 2564.
สกลนคร.
สำหรัด สุนาพรม. (2559, เมษายน 27). ผู้ประกอบการบ้านนาขามอำเภอพรรณนา
นิคม จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.
เหมะรัตน์ เหมะธุลิน. (2553). การวิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตของกลุ่มอาชีพทอ
ผ้าย้อมครามในเทศบาลตำบลบัวสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัด
สกลนคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ขอนแก่น.
อนุรัตน์ สายทอง. (2545). พัฒนาและการออกแบบผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นการย้อมคราม
ของ กลุ่มทอผ้าสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน
จังหวัดสกลนคร : สกลนคร.
อนุรัตน์ สายทอง และอมรา เขียวรักษา. (2553). สืบสานภูมิปัญญาครามสู่
ลูกหลาน. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร :
สกลนคร.
อนุรัตน์ สายทอง กาญจนา วงษ์สวัสดิ์ ประไพพันธ์ แดงใจ และชาคริต อริย
อาภากมล. (2549). การสัมมนาเทคนิคการเตรียมสีครามและการย้อมสี
ครามธรรมชาติ. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชนบทและการพัฒนาที่ยั่งยืน,
กรุงเทพ.
อำนาจ สุนาพรม. (2560, ธันวาคม 28). ผู้ประกอบการฮูปแต้มอำเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร. สัมภาษณ์.
Translated Thai Reference
The Community Development Department. (2012). Guidelines for
Increasing Effacing of Produces Enterprise OTOP business
plan. Bangkok : Local Wisdom and Community Enterprise
Promotion Office Department of Community Development,
Ministry of Interior.
Kulathida Umprompong. (November. 26. 2017) Suk-Shom
Entrepreneurs, Muang District, Sakon Nakhon Province.
Interview.
Jintana Nhuna. (2003). Preserving Thai Culture heritage develop in
book Ministry of University Affairs 5. Walailak University.
Nakhon Si Thammarat.
Jeerawat Phujit. (December 11. 2017) Sakon Made Visitor, Muang
District, Sakon Nakhon Province. interview.
Jamlack Kunphonkaew. (2013). Millennial Generation. Bangkok
Business. Released on December 23, 2017.
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/517054.
Chutima Srisawat. (May 3. 2016,) Nipaporn Entrepreneur, Muang District,
Sakon Nakhon interview.
Chaiya Chatchanan Jaroennoi Panpai Gai Thong and Somsak
Khunmanee. (2019). Action Research in Rehabilitation for
indigo dyeing process in southern folk way. Research Fund
: Bangkok.
Parichat Phujit. (December 30, 2017) Sakon Made. Muang District, Sakon
Nakhon Province. Interview.
Pikul Phrommahakul. ( 2016. May 18) Krongwitee Entrepreneurs Panna
District. Sakon Nakhon. Interview.
Pikul Phrommahakul. ( 2016. December 25) Krongwitee Entrepreneurs
Panna District. Sakon Nakhon. Interview.
Pikul Phrommahakul. ( 2016. December 28) Krongwitee Entrepreneurs
Panna District. Sakon Nakhon. Interview.
Ruennee Chanvi. (2018, December 20) Ruennee Entrepreneur, Panna
District Sakon Nakhon. interview.
Sakon Nakhon Provincial Office, Strategy and Information for Provincial
Development. (2016). Draft Development Plan Sakon
Nakhon 4 years. 2018 – 2021 Sakon Nakhon Province. Sakon
Nakhon.
Samrat Sunaphom. (April 27, 2016) Na-kam Entrepreneur, Panna District
Sakon Nakhon. interview.
Hamarat Hamatulin. (2010). Analysis of the production potential of
indigo dyeing in the municipality. Bua Sawang District,
Phunan Nikhom Sakon Nakhon. Independent Study Report.
State Master of Arts. Local administration Local government
college. Khon Kaen University, Khon Kaen.
Anurat Saengthong. (2000). Development and design of local indigo
dyeing products. Weaving Group Ban Panna Tumbol Panna
Sawang Daeng Din District Sakon Nakhon Province: Sakon
Nakhon.
Anurat Saengthong And Amara keawragsa. (2010). Giving wisdom to the
children. Faculty of Science and Technology Technology of
Sakon Nakhon Rajabhat University: Sakon Nakhon.
Anurat Saengthong, Kanchana Wongsawad, Prapipat Dangjai, and Chakrit
Ariyapakorn. (2006). Seminar on techniques for indigo and
natural indigo dyeing. National Science and Technology
Development Agency Rural Science and Technology Project
for Sustainable Development: Bangkok.
Aumnard Sunaphom. (December 28. 2017) Hoop Tam Entrepreneur.
Muang District, Sakon Nakhon Province. interview.