การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองโบราณอู่ทองขององค์การบริหารการพัฒนา พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองโบราณอู่ทองขององค์การการบริหารการพัฒนา พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

ผู้แต่ง

  • Piphop Bulthum

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ; การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน; การพัฒนา              พื้นที่พิเศษเมืองโบราณ อู่ทอง; องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อ              การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (2) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และ (3) ยุทธศาสตร์ของแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองโบราณ   อู่ทองขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลสนามจากกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.96 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.86 ประชากรคือ ประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 23,792 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลอู่ทองดังกล่าว จำนวน 1,112 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2561 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 935 ชุด/คน คิดเป็นร้อยละ 84.08 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,112 คน สำหรับวิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดสโนว์บอลล์ และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวคนละไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองด้านการท่องเที่ยวโดยสนับสนุนค่าตอบแทนให้ประชาชนไม่มากเท่าที่ควร (2) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการที่สำคัญคือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองด้านการท่องเที่ยวโดยสนับสนุนค่าตอบแทน และให้ความสำคัญกับรายได้ของประชาชนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ควรใช้งบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมกับกำหนดยุทธศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวไว้ด้วย และ        (3) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ควรสร้างและนำยุทธศาสตร์ของแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนไปปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดที่สำคัญของการปฏิบัติงาน และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมตลอดทั้งนำยุทธศาสตร์ไปพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตอีกด้วย โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม คุณธรรม และเทคโนโลยี

คำสำคัญ: การบริหารจัดการ; การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน; การพัฒนา
             พื้นที่พิเศษเมืองโบราณ อู่ทอง; องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อ
             การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการและการบริหารจัดการที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ : โฟร์เพซ.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. คู่มือเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.dasta.or.th/dastaarea7/attachments/article/228/SAR.pdf.)

Bonnie K. Nastasi and Stephen L. Schensul (2005, pp. 177-195).
"Contributions of Qualitative Research to the Validity of
Intervention Research", Journal of School Psychology,
Volume 43, Issue 3, (May-June 2005): 177-195.)

Lee Joseph Cronbach. (1990, pp. 31-54). Essential of Psychological
Testing. Fifth Edition. New York: Harper and Row Publishers
Inc.

Leo A. Goodman. (1961, pp. 148-170). “Snowball Sampling”, Annals of Mathematical Statistics 32, 1 (1961): 148-170.

Michael Nir. (2014). Leadership: Building Highly Effective Teams, How to Transform Teams into Exceptionally Cohesive Professional Networks. Third Edition. Boston, MA: Sapir Consulting US., L.L.C.

Patrick Biernacki and Dan Waldorf. (1981, pp.141-163). “Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling”Sociological Methods & Research 10, 2 (1981): 141-163.)

Raymond Meredith Belbin. (2010). Management Teams: Why They Succeed or Fail. Third Edition. Burlington, Massachusetts: Elsevier.

Turner, Ronna C. and Carlson, Laurie (2003). “Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items, International” Journal of Testing 3, 2, 2003: 163-171.

Yamane, Taro (2012). Mathematics For Economists: An Elementary Survey. Whitefish, Montana: Literary Licensing, LLC.

Michael Nir. (2014). Leadership: Building Highly Effective Teams, How to Transform Teams into Exceptionally Cohesive Professional Networks. Third Edition. Boston, MA: Sapir Consulting US., L.L.C.

Translated Thai References

Wiruch Wiruchnipawan. (2016).50 Concepts, Indicators, Models of
Administration Management and Sustainable Management.
Bangkok: Fourpence.

Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). A Guide to the Standards of Community-Based Tourism Management (Online). May 25, 2018 http://www.dasta.or.th/dastaarea7/attachments/article/228/SAR.pdf.)

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26