ปัญหาและอุปสรรคของการสร้างเครือข่ายของ การปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมอนุรักษ์และ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาห้วยตองแวด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ปัญหาและอุปสรรคของการสร้างเครือข่ายของ การปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมอนุรักษ์และ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาห้วยตองแวด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • Piyamart Tupmongkol
  • Phengkamon Marnarath

คำสำคัญ:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น; เครือข่าย; สิ่งแวดล้อม; นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ คือ 1) เพื่อนำเสนอปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2) เพื่อเป็นการให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

จากการศึกษา พบปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งเครือข่าย 4 ประการ คือ ปัญหาเชิงโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ปัญหาด้านความไม่สอดคล้องกันระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาและโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ปัญหาด้านทรัพยากรในการบริหารจัดการร่วมกัน และปัญหาด้านความไว้วางใจ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการร่วมกันทำงานในรูปของเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นอันดับแรก ความไว้วางใจจะนำมาสู่การทำงานร่วมกัน เริ่มตั้งแต่การวางแผนงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ การสร้างข้อตกลงร่วมกัน ทำให้การจัดทำโครงการจะมีความสอดคล้องกันและเป็นระบบมากขึ้น นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมอบหมายภารกิจด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้กับส่วนงานหรือบุคลากรให้ชัดเจน รวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรเหล่านั้นมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีเจ้าภาพในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว อีกทั้งมีการจัดการด้านงบประมาณในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

คำสำคัญ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น; เครือข่าย; สิ่งแวดล้อม; นโยบายสาธารณะ

References

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2552). คู่มือความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561, <http://www.dla.go.th/work/e_book/local_co/chapter1.pdf>.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2552). มาตรฐานการบริหารและการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : มาตรฐานการบำบัดน้ำเสีย. เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559, <http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/stan10.htm>.

กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น, พิสมัย ศรีเนตร, และอรทัย เลียงจินดาถาวร. (2554). รูปแบบการฟื้นฟูและอนุรักษ์ลำห้วยตองแวดอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านโพธิ์ตก หมู่ 8 ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น, ปิยะมาศ ทัพมงคล, เพียงกมล มานะรัตน์, และ ศิริพร จันทนสกุลวงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการจัดทำนโยบายอนุรักษ์และฟื้นฟูลำห้วยตองแวดในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

โกวิท พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเชียเพรส (1989) จำกัด.

ไพบูลย์ ดวงศรี. (สัมภาษณ์), นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี, 31 ตุลาคม 2559.

ทวิดา กมลเวชช. (2553). นโยบายสาธารณะในบริบทการบริหารปกครอง. ใน อัมพร ธำรงลักษณ์ (บรรณาธิการ), การบริหารปกครองสาธารณ : การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศบาลตำบลธาตุ. (2561). ข้อมูลทั่วไป. เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561, <http://www.thatubonratchathani.go.th/ >

เทศบาลตำบลเมืองศรีไค. (2559). แผนพัฒนา 3 ปี (2556-2559). เทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.

เทศบาลตำบลแสนสุข. (2561). โครงสร้างและอัตรากำลัง. เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 25561,
<http://www.saensukubon.go.th/index.php?op=organization&id=3234>

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น: อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก ภาคแรก จากยุคกรีกถึงยุคทุนนิยมตะวันตก. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ธวัชชัย มาลัย. (สัมภาษณ์), ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง, วันที่ 31 ตุลาคม 2559.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2542). ชุดคู่มือการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล่ม 1 : การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ชินวัตร การพิมพ์, เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559, <http://www.onep.go.th/download/env_mgt_manual/book1.html>.

วรัญญู เสนาสุ. (2556). การกระจายอำนาจกับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ชุดหนังสือ การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ : เปนไท.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดองค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ภารกิจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด.

เวทีระดมความคิดเห็นและอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน ครั้งที่ 1. วันที่ 16 ตุลาคม 2559, ณ โรงแรม U-place มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เวทีระดมความคิดเห็นและอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแนวทางความร่วมมือระหว่างกัน ครั้งที่ 2. วันที่ 31 ตุลาคม 2559, ณ โรงแรม U-place มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. บทสรุปผู้บริหาร โครงการการจัดทำรูปแบบบทบาทและโครงการนำร่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2559,
<http://www.onep.go.th/download/env_mgt_manual/Executive/ExecutiveSummary_th.pdf>.

สถาบันพระปกเกล้า. ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูป: แบบและความเป็นไปได้. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2550.

องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง. (2561). หัวหน้าส่วนราชการ. เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561,
<http://www.kumuang.go.th/personal/officer/chief-of-officer >

องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ใหญ่. พนักงานส่วนตำบล. เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561,
<http://www.kumuang.go.th/personal/officer/chief-of-officer>

Agranoff, R. & McGuire, M. (2007). Managing in Network Settings. In Mark Bevir (ed.), Public Governance. London: SAGE Publication.

Bardach, E. (1978). The Implementation Game: What Happens After a Bill Becomes a Law. Cambridge: MIT Press.

Bogason, P. & Musso, J. (2005). The Democratic Prospects of Network Governance. American Review of Public Administration. Vol.36 (1), pp. 3-18.

Hill, M. & Hupe, P. (2009). Implementing Public Policy. 2nd edn. London: SAGE Publication.

Klijn, Erik-Hans. (2005). Networks and Inter-organizational
Management: Challenging, Steering, Evaluation, and the
Role of Public Actors in Public Management. In Ewan Ferlie,
Laurence E. Lynn, JR and Christopher Pollitt (eds.), The Oxford
Handbook of Public Management. London: Oxford University
Press.

Klijn, Erik-Hans & Koppenjan, Joop F.M. (2000). Public Management and Policy Network: Foundations of a Network Approach to Governance. Public Management Review, Vol.2 (2), pp.135-158.

O’Toole, L. (1997). The Implications for Democracy in Networked Bureaucratic World. Journal of Public Administration Research and Theory: J-PART, 7 (3), pp. 443-459.

Peters, G. B. (2001). The Future of Governing. 2nd edn. Kansas: The University Press of Kansas

Pressman, J.L. & Wildavsky, A. (1973). Implementation. 2nd edn. Berkeley: University of California Press.

Robin, G., Bates, L. & Pattison, P. (2011). Network Governance and Environmental Management: Conflict and Cooperation. Public Administration, 89(4), pp.1239-1313. <https://doi.org/10.1111/j.1467-9299.2010.01884>.

Salpeteur, M., Calvet-Mir, L., Diaz-Reviriego, I., & Reyes-Garcia, V. (2017). Networking the environment: social network analysis in environmental management and local ecological knowledge studies. Ecology and Society, 22(1).
<https://doi.org/10.5751/ES-08790-220141>.

Translated Thai References

Charoenmuang, T. (2007). Local Government and Local Governance. Bangkok: Kobfai.

Department of Local Administration. (2009). Local cooperation Manual. Viewed on 10th July 2018, <http://www.dla.go.th/work/e_book/local_co/chapter1.pdf>.

Department of Local Administration. (2009). Standard of Local Public Service: Wastewater Treatment Standard. Viewed on 5th May 2018, <http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/stan10.htm>.

Duangsri, P. (Interview). Chief Executive of Pho Yai Sub-District Administrative Organization, Warinchamrap District UbonRatchathani Province, 31 October 2016.

Kamolvej, T. (2010). “Public Policy in Governance Context”, In Amporn Tamronglak (ed.). Public Governance. Bangkok: Thammasat University Press.

King Prajadhipok”s Institution. (2007). Cooperation among Local Government: Forms and Possibility. Bangkok. King Prajadhipok”s Institution.

Kumuang Sub-District Administrative Organization. Chief Officer. Viewed on 10th May 2018, <http://www.kumuang.go.th/personal/officer/chief-of-officer>.

Luangprapat, W. (2004). Thai Local Government Encyclopedia: Structure of Local Government. Bangkok: Thamada Press, Co.,Ltd.

Malai, T. (Interview). Chief Administrator of Kumuang Sub-District Administrative Orhanization, Warinchamrap District UbonRatchathani Province, 31st October 2016.

Muang Sri Kai Municipality. (2016) Three Years Plan (2013-2016). Muang Sri Kai Municipality Warinchamrap District Ubon Ratchathani Province.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (1999). Operational Guidelines for Local Government Natural Resources and Environmental Management. Bangkok: Chinwat Kanpim, Viewed on 5th May 2016, <http://www.onep.go.th/download/env_mgt_manual/book1.html>

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2016). Executive Summary: Pilot Project of Local Government Natural Resources and Environmental Management. Viewed on 23rd May 2016. <http://www.onep.go.th/download/env_mgt_manual/Executive/ExecutiveSummary_th.pdf>.

Pho Yai Sub-District Administrative Organization. Local Government Officer. Viewed on 10th May 2018, <http://www.kumuang.go.th/personal/officer/chief-of-officer>.
Phong-Ngam, K. (2007). Thai Local Government. Bangkok: Sor Asia Press (1989) Co.,Ltd.

San Suk Municipality. (2018). Staff Structure. Viewed on 10th May 2018, <http://www.saensukubon.go.th/index.php?op=organization&id=3234>.

Senasu, W. (2013). Decentralization and Local Government Environmental Management. Bangkok: Penthai.

Stakeholder Meeting for Network Building, 16th October 2016, U-place Hotel, Ubon Ratchathani University.

Stakeholder Meeting for Network Building, 31st October 2016, U-place Hotel, Ubon Ratchathani University.

Summuanyen, K, Tupmongkol, P, Marnarath, P, Chanthanasakunwong, S. (2018). An approach to development collaborate in preserve and revive Huay Tong Wad policy in the local administration level, Warinchamrab district, Ubon Ratchathani. The Thailand Research Fund (TRF) and Ubon Ratchathani University.

Summuanyen, K., Srinate, P & Liengjindathawon, O. (2011). Pattern of Conservation and recovery of the Huay Thong Wad, Ban Pho Tok, Pho Wai Sub-district, Warinchamrap District, Ubon Ratchathani Province. The Thailand Research Fund (TRF).

That Municipality. (2017). General Information. Viewed on 10th May
2018. <http://www.thatubonratchathani.go.th/>.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)