แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิ
แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา; การบริหารจัดการ; การประชาสัมพันธ์; สำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิบทคัดย่อ
ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามนั้นได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.88 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.90 ประชากร คือ พนักงานหรือผู้ประกันตนทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมและมีจำนวนผู้ประกันตนมากที่สุดในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,015 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างคือประชากรดังกล่าว อันเป็นการนำประชากรมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 1,011 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.61 ของประชากร 1,015 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดสโนว์บอลล์ และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ทีละคน ๆ ละไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง
ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลแก่พนักงานหรือผู้ประกันตนโดยคำนึงถึงความคิดเห็น และคำร้องเรียนของผู้ประกันตนไม่มากเท่าที่ควร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิควรเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลแก่พนักงานหรือผู้ประกันตนโดยคำนึงถึงความคิดเห็น คำร้องเรียน และความต้องการของผู้ประกันตนเพิ่มมากขึ้น พร้อมกันนั้น ควรสร้างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้วย และ (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่สำคัญ คือ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิควรกำหนดและนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิตามแนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม ไปปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญของการปฏิบัติงาน และการนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวเฉพาะที่สำคัญประกอบด้วย 4 ด้าน ควรเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนา; การบริหารจัดการ; การประชาสัมพันธ์; สำนักงาน
ประกันสังคมจังหวัดชัยภูมิ
Downloads
References
ชนิศฏ์สรฐ์ สืบสังข์ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2558). "การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2558), หน้า 106-117.
ธีระ วรธนารัตน์, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, รัศมี ตันศิริสิทธิกุล และเกษร เทพแปง. (2558). การวิเคราะห์สถานการณ์และการศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้ารับบริการทางแพทย์ของผู้ประกันตนได้ทุกสถานพยาบาบในระบบประกันสังคม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรมล รองศรีแย้ม. (2552). การเข้าถึงสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยของผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4. สารนิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
สมพร ทองชื่นจิตต์. (2543). 10 ปี ประกันสังคม. นนทบุรี : สำนักงานประกันสังคม.
สำนักงานประกันสังคม. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจความพึงพอใจของสำนักงานประกันสังคม ปี 2559. นนทบุรี : สำนักงานประกันสังคม.
สำนักงานประกันสังคม. (2560). สถิติงานประกันสังคม ปี 2555-2559. นนทบุรี : สำนักงานประกันสังคม.
Biernacki, Patrick and Waldorf, Dan. (1981). "Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling", Sociological Methods & Research. 10, 2 (1981): 141-163.
Brocki, Joanna J.M. and Wearden, Alison J. (2006). “A Critical Evaluation of the Use of Interpretative Phenomenological Analysis (IPA) in Health Psychology”, Psychology and Health. 21, 1 (2006): 87-108.
Cowles, Ernest L. and Nelson, Edward. (2015). An Introduction to Survey Research. New York: Business Expert Press, LLC.
Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California : Sage Publications, Inc.
Denhardt, Jenet V. and Denhardt, Robert B. (2003). The New Public Service: Serving, not steering. New York : M.E. Sharpe, Inc.
Everitt, Brian S. (1992). The Analysis of Contingency Tables. Second Edition, Boca Raton, Florida : Chapman and Hall/CRC.
Guest, Greg, Namey, Emily E. and Mitchell, Marilyn L. (2013). Collecting Qualitative Data: A Field Manual for Applied Research. Thousand Oaks, California : Sage Publications, Inc.
Wetcher-Hendricks, Debra. (2011). Analyzing Quantitative Data: An Introduction for Social Researchers. New Jersey : John Wiley & Sons.
Translated Thai References
Chanitsorn Suebsung & Wiruch Wiruchnipawan. (2015). The Administration for Human Resource Development of the Bangkok Metropolitan Administration According to the Royal Initiatives. EAU Heritage Journal : Social Science and Humanity, 5(3), 106-117.
Niramon Rongsriyaem. (2009). Accessibility to social security benefits in case of sickness of insured persons registered at Social Security Office Area 4. Master's Degree in Labor and Welfare Development Faculty of Social Science Thammasat University.
Social Security Office (2560). Social Security Statistics Year 2012-2016. Nonthaburi: Social Security Office.
Social Security Office. (2017) . The complete report on the satisfaction survey of the Social Security Office, 2016. Nonthaburi: Social Security Office.
Somporn Thongsukjit (2000). 10 Years Social Security. Nonthaburi: Social Security Office.
Teerawat Naratat, Phatthawan Worawanarat, Rasamee Tanasirithikul & Geshe Deeppong. (2015). Situational analysis and feasibility study of insured persons in all social security system. Bangkok: Academic Service Center, Chulalongkorn University.
Wiruch Wiruchnipawan. (2016). 50 Concepts, Indicators, Models of Management And sustainable management. Bangkok: Fourpence Publishing.