ประวัติศาสตร์และเครือข่ายอำนาจการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุดรธานี
ประวัติศาสตร์และเครือข่ายอำนาจการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดอุดรธานี; เครือข่ายความสัมพันธ์; บทบาทของเครือข่าย; กลุ่มผลประโยชน์; กลยุทธ์และวิธีการหาเสียงบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมความเป็นอยู่ของจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาข้อมูลนักการเมืองจังหวัดอุดรธานีที่เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาพรรคการเมือง เครือข่ายและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดอุดรธานี 4) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตพื้นที่การเลือกตั้งจังหวัดอุดรธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 5) เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นในระดับเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานีสู่บทบาทการเมืองในระดับชาติ การศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และสรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 – 2554 จังหวัดอุดรธานีมี มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 69 คน นักการเมืองหญิง จำนวน 4 นักการเมืองชาย จำนวน 65 คน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุด 7 สมัย คือ นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ นายประจวบ ไชยสาส์น และนายรักเกียรติ สุขธนะ นักการเมืองจังหวัดอุดรธานีที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และส่วนมากเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ พ่อค้า และเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มาจากสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดอุดรธานีมีกลุ่มการเมืองที่สำคัญคือ กลุ่มเสรีไทยจังหวัดอุดรธานี เครือข่ายทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและทำให้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง เครือข่ายคนเสื้อแดง และเครือข่ายพรรคการเมืองภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
รูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นอุดรธานีที่สำคัญ คือ การใช้หัวคะแนนในกลุ่มของผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น การลงพื้นที่เดินพบประพูดคุย การใช้ความสามารถเฉพาะตัว การแจกเงินซื้อเสียง การหาเสียงแบบเข้าถึงชาวบ้าน การปราศรัยย่อยในพื้นที่หมูบ้าน แจกบัตรแนะนำตัวผู้ลงสมัคร การติดป้ายหาเสียง การใช้รถแห่หาเสียง การปราศรัยใหญ่ระดับพื้นที่จังหวัดที่มีนักการเมืองคนสำคัญของพรรคร่วมปราศรัยด้วย การใช้ระบบหัวคะแนน การแจกเงินเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มารับฟังการปราศรัย การร่วมงานมงคล อวมงคล และงานพิธีการทางศาสนา
คำสำคัญ: สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดอุดรธานี; เครือข่ายความสัมพันธ์;
บทบาทของเครือข่าย; กลุ่มผลประโยชน์; กลยุทธ์และวิธีการหาเสียง
Downloads
References
คะนอง พิลุน.(2557).นักการเมืองถิ่นจังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: สถาบัน
พระปกเกล้า.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2557). นักการเมืองถิ่นจังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ:
สถาบันพระปกเกล้า.
ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์. (2551). นักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: สถาบัน
พระปกเกล้า.
ณัฐพงศ์ บุญเหลือ. (2556). นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: สถาบัน
พระปกเกล้า.
นพพล อัคฮาด. (2555). นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู กรุงเทพฯ: สถาบัน
พระปกเกล้า.
ประเทือง ม่วงอ่อน. (2556).นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: สถาบัน
พระปกเกล้า.
สุเชาวน์ มีหนองหว้า และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2549). นักการเมืองถิ่นจังหวัด
อุบลราชธานี กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
อำนาจ ศรีพระจันทร์. (2558).ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มี
สิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเลือกตั้ง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ศึกษาเฉพาะอําเภอบ้านผือ
จังหวัดอุดรธานี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี.
Translated Thai References
Kanomg Pilun (2014). Politicians of Chanthaburi Province. Bangkok: King
Prajadhipok's Institute.
Chalard Chantarasombat. (2014). Politicians of Mahasarakham Province.
Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Chaiwut Montrirak. (2008). Politicians of loei Province. Bangkok: King
Prajadhipok's Institute.
Nattapong Boonlue. (2013). Politicians of Suphan Buri Province.
Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Noppon Akahat. 2012). Politicians of Nong Bua Lamphu Province. Bangkok:
King Prajadhipok's Institute.
Pratueng Moung-On. (2013). Politicians of Sisaket Province. Bangkok:
King Prajadhipok's Institute.
Suchao Minongwa and Kittirat Sihaban. (2549). Politicians of Ubon
Ratchathani Province Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Amnat Siprajan. (2015). Factors Affecting Political Participation of Voters
in the Election of Local Government Organization : A Case Study of Electing President of Udon Thani Provincial
Administration Organization, Focusing on Ban Phue District, Udon Thani Province. Sukhothai Thammathirat Open University.