การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน เทศบาลตำบลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การจัดการเชิงกลยุทธ์, การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน, หนองสองห้องบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research ) ด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยว ประโยชน์ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว และสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสำรวจทรัพยากร ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ทำการศึกษาเฉพาะในพื้นที่เทศบาลตำบลหนองสองห้อง ผลการศึกษาพบว่าทรัพยากรการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ วัดเกาะสะอาด สิมอีสาน วัดกลางน้ำ กู่บ้านเมย วิหารเก่าวัดขวางตะวัน เจดีย์หลวงปู่ใบ วัดป่าภูตะคาม ทับหลังนารายณ์ บ้านเมย แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ได้แก่ แปลงปลูกผักปลอดสารพิษบ้านหัวหนอง หนองละเริงเค็ง บ้านหัวละเริง ส่วนศักยภาพด้านการจัดการท่องเที่ยว เชิงพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลาง รวมถึง ด้านการจัดการของชุมชน และด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว และแนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ควรมีการรับฟังความคิดเห็นและการสำรวจความต้องการของชุมชนที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงความต้องการของผู้นำท้องถิ่นฝ่ายเดียว
Downloads
References
กุลจิรา เสาวลักษณ์จินดา .(2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่ง
ท่องเที่ยว กรณีศึกษา: อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี, รายงานวิจัยปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี.
ศิริจรรยา ประพฤติกิจ .(2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง
จังหวัดตราด เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เพชรศรี นนท์ศิริ.( 2553). Doctor of Tourism Geography, lecturer at
Naresuan University, Phitsanulok, Thailand.
สินธุ์ สโรบล .(2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน : แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ, เชียงใหม่: วนิดา เพรส; สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย .
เพ็ญจันทร์ สังข์แก้วและคณะ .( 2553). รายงานการวิจัย การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่สูง ตำบลทุ่งสมออำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์.
สันติ แซ่เตื้อง .(2554).การจัดการการท่องเที่ยวโดย กลุ่มสมาชิกหมู่บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่.รายงานการวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทร์กัลย์ เตี่ยไพบูลย์ .(2557). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน บ้านหัวนอนวัด ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุธาทิพธิ์ เข็มน้อย .(2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของการจัดการการ
ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัด
นครปฐม. รายงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560-2564.
แผนพัฒนาหนองสองห้อง .(2559). รายงานประจำปี . เทศบาลตำบลหนองสองห้อง
อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น.
Translated Thai References
Khemnoy, S. (2011). Factors Affecting Participation of Sustainable
Tourism Management, Case Study: Bangluang Market, Bang Len District, Nakhon Pathom Province. Graduate Research Silpakorn University.
Nonsiri, P. (2010). Doctor of Tourism Geography, lecturer at Naresuan
University, Phitsanulok, Thailand.
Prapraditkit, S. (2010). Evaluation of potential tourist sites in Amphoe Mueang, Trad province for ecotourism. Master of Science Planning and Management Srinakharinwirot University.
Saeteung, S. (2011). Tourism Management Members of Mae kham pong Village, Mae On District, Chiang Mai Province. ChiangMai University.
Salobon, S. (2012). Community tourism: concepts and experiences in
the northern region, Chiang Mai: Wanida Press; Research Fund.
Sangkaew, P. & et. al. (2010) Community-based tourism management Thung Samo District, Khao Kho District Phetchaboon. Journal of Research in Science and Technology.
Saovalajinda, K. (2012). Community participation in tourism
management. Case study: In Buri District Singh, M., Research Report, University of Technology, Thanyaburi.
Strategic Plan National Tourism Development .(2017-2021). Nong
Song Hong Subdistrict Municipality, Khon Kaen.
Tiaphaiboon, P. (2014). Community Development of Community-Based
Tourism Models in Chiangrai (Chiangrai)Potential of ecotourism by community. Baan Hua Na, Tambon Mae Tom, Amphoe Bang Klam, Songkhla, Master of Science Environment Prince of Songkla University.