อิทธิพลพันธมิตรทางธุรกิจ การจัดการโซ่อุปทาน และผลการดำเนินงานขององค์กร ที่มีต่อความยั่งยืนองค์กรของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • Pornwadee Ruksasri คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • Veerakit Saorom คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • Nisarat Chotechoei คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พันธมิตรทางธุรกิจ, การจัดการโซ่อุปทาน, ; ความยั่งยืนทางองค์กร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลพันธมิตรทางธุรกิจ ที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลพันธมิตรทางธุรกิจ การจัดการโซ่อุปทาน และผลการดำเนินงานขององค์กร ที่มีต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 312 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก สามารถกำหนดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ดังนี้ พันธมิตรทางธุรกิจ ประกอบด้วย ด้านพันธมิตรทางผลิตภัณฑ์ ด้านพันธมิตรทางการตลาด ด้านพันธมิตรทางเทคโนโลยี ด้านพันธมิตรทางการวิจัยและพัฒนา และด้านพันธมิตรด้านทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ การจัดการโซ่อุปทาน ประกอบด้วย ด้านการประสานงาน ด้านการแบ่งปันสารสนเทศ ด้านการร่วมมือ และด้านการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว ผลการดำเนินงานขององค์กร ประกอบด้วย ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านนวัตกรรม ด้านภาพลักษณ์ และด้านความพึงพอใจ และความยั่งยืน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม 2) โมเดลปรับปรุงของสมการโครงสร้างอิทธิพลพันธมิตรทางธุรกิจ การจัดการโซ่อุปทาน และผลการดำเนินงานขององค์กร ที่มีต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ค่า χ2 = 124.769 ค่า df = 108 ค่า χ2 /df = 1.155 ค่า p-value = 0.129 ค่า GFI = 0.958 ค่า CFI = 0.994 ค่า NFI = 0.957 ค่า RMR = 0.010 และ ค่า RMSEA = 0.022 ผลที่ได้รับผ่านเกณฑ์ทุกข้อ และมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

เอกสารอ้างอิง
นิศา ชัชกุล. (2557). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พนารัช ปรีดากรณ์. (2556). การพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวผ่านการสร้างเครือข่ายกลุ่ม
ธุรกิจ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 9 : 48-67.
ศากุน บุญอิต. (2558). การจัดการซัพพลายเชนเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด
ยูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Aaker, D. A., V. Kumar and Day, G. S. (2001). Marketing Research. New York: John
Wiley and Sons,.
Akoumianakis, D. (2014). Ambient affiliates in virtual cross-organizational tourism
Alliances A case study of collaborative new product development.
Computers in Human Behavior. 30 : 773-786.
Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making. 4thed.
New York: John Wiley and Sons.
Creswell, J. W. (2013). Research Design: Qualitative, Quantitative, and
Mixed Methods Approaches. 2nd ed. Thousand Oaks : CA: Sage
publications.
Datta, P. P. and Christopher, M. (2011) Information sharing and coordination
mechanisms for Managing uncertainty in supply chains: a simulation
study. International Journal of Production Research. 49(3) :
765-803.
Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River,
New Jersey : Prentice-Hall.
Hohberger, J. et al. (2015). The direction of firm innovation : The contrasting roles
of strategic alliances and individual scientific collaborations. Research
Policy. 44 : 1473-1487.
Kale, P. and Singh, H. (2007). Building firm capabilities through learning: the role
of the alliance learning process in alliance capability and firm level
alliance success. Strategic Management Journal. 28(10) : 981-1000.
Lee, H.K. and Fernando Y. (2015). The antecedents and outcomes of the
medical tourism supply chain. Tourism Management. 46 : 148-157.
Piboonrungroj and Disney. (2009). Tourism Supply Chains: A Conceptual
Framework, Exploring Tourism III: Issue in PhD Research. In: Proceeding of the PhD Networking Conference, July 2009. Christel DeHaan Tourism and Travel Research Institute.
Schilke, Oliver and Anthony, Goerzen. (2010). Alliance Management Capability:
An Investigation of the Construct and Its Measurement. Journal of
Management. 36(5) : 1192-1219.

Translated Thai References
Boonit, S. (2015). Supply Chain Management for Excellence. Bangkok :
Se-Education.
Chatchakun, N. (2014). Tourism industry. The 2th Publication. Bangkok :
Chulalongkorn University.
Office of the National Economic and Social Development Council. The
National Economic and Social Development Plan Issue 12
(2017-2021). Bangkok : Office of the National Economic and
Social Development Council.
Pridakorn, P. (2013). Tourism Business Development Through the
Creation of a Network of Business Groups. Thai International
Travel Journal. 9 : 48-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)