การศึกษาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง ในจังหวัดนครพนม

การศึกษาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • Phatcharaporn Kawansu
  • Pathumthip Mankhonksoong
  • Pornpimon Kavansu

คำสำคัญ:

วัยรุ่น; หญิงตั้งครรภ์; นครพนม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ 2) เพื่อหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิงจังหวัดนครพนม โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ         เก็บรวบรวมข้อมูลจากวัยรุ่นหญิงอายุระหว่าง 10-19 ปีที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยการสนทนาแบบกลุ่ม จำนวน 24 คน และ การสัมภาษณ์เชิงลึกในรายที่ยินยอมให้ข้อมูลเชิงลึกอีก 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยการศึกษาพบว่า องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์              1) สถานภาพของครอบครัว 2) ความรู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ซึ่งวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ไม่ทราบความหมายที่ถูกต้อง แต่ทุกคนมีความรู้และสามารถบอกวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ สาเหตุของการท้องส่วนใหญ่มาจากการคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ 3) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ พบว่ามีมุมมองที่ไม่ดีต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แต่มีความอยากรู้อยากลอง การมีแฟนและเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ  4) พฤติกรรมเสี่ยง เช่น เที่ยวกลางคืน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงมีดังนี้ 1) ปรับหลักสูตรและเนื้อหาวิชาเพศศึกษา ให้เหมาะสม เข้าใจง่าย เริ่มสอนให้เร็วขึ้น 2) ปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์ โครงการหรือกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐให้ทั่วถึง  3) เพิ่มความถี่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เข้ามาให้ความรู้ และปรับรูปแบบการให้ความรู้เป็นแบบกลุ่มย่อย แยกหญิงชาย 4) จัดตั้งโรงเรียนสำหรับวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ และมีพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนสำหรับวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาล

คำสำคัญ :  วัยรุ่น; หญิงตั้งครรภ์; นครพนม

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง
ชมพูนุช ดอกคำใต้. (2555). การศึกษาประสบการณ์การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น เขตตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สาขาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และคณะ. (2556). แม่วัยใส: สถานการณ์และบริบทในสังคมไทย. โครงการสำรวจและศึกษาเพื่อเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมรอบที่ 1 (มิถุนายน-สิงหาคม 2556). วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.. กรุงเทพฯ:
ประไพศรี แสงชลินทร์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. (2554). ปัจจัยป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 19 (ฉบับเพิ่มเติม 1): 11-22.
พันธุ์ทิพย์ บุญเกื้อ (2560) การศึกษาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นใน อำเภอ
ปะทิวจังหวัดชุมพร.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5 (2) : 195-216.
มนชนก พัฒน์คล้าย, อารี พุ่มประไวทย์ และสาโรจน์ เพชรมณี. (2559). ประสบการณ์การตั้งครรภ์ และการเลี้ยงดูบุตรของวัยรุ่นในเขตพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1) : 21-32.
มาลีวัลย์ เลิศสาครศิริ. (2557). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (1): 90-98.
รักเกล้า มีศิล และฟ้ารุ่ง มีอุดร (2558) .การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น สาเหตุและแนวทางแก้ไข กรณีศึกษาวัยรุ่น ในเขตชนบทแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. (766-771).
ศรีสุรางค์ ดวงประเสริฐ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น จังหวัดนครนายก. วารสารควบคุมโรค, 34(4),: 484-489.
สุธิดา ฉายาลักษณ์. (2531). การศึกษาสาเหตุและปัญหาของการเป็นมารดาวัยรุ่น: ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ป่วยสูติกรรมโรงพยาบาลราชวิถี (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครพนม. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2561-2564. นครพนม 4 ปี : นครพนม.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. (2558). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุภาชัย สาระจรัส. (2553).การตั้งครรภ์ของเด็กวัยเยาว์: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) . สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
UNFPA State of Thailand Population report. (2013). แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. สืบค้นจาก http://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pubpdf/State%20of% 20Thailand % 20 Population%20report%202013-MotherhoodinChildhood_th.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561
UNFPA State of World Population. (2013). Motherhood in Childhood Facing the challenge of adolescent pregnancy. New York.
World Health Organization. (2002) Sexual health. สืบค้นจาก
http://www.who.int/reproductive-health/ gender/sexualhealth.html. เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561

Translated Thai References
Bonkuea, P. (2017). A Study of Unwanted Teenage Pregnancies in PATHIU District. CHUMPHON Province, Community Health Development Quarterly Khon Kean University, 5 (2): 195-216.
Dokkamtai, C. (2012). A Study of Unwanted Pregnancies Experiences in Adolescents in Maiya subdistrict, Phayamengrai district, Chiang Rai Province. Master thesis in Public Health, , University of Phayao.
Doungprasert, S. (2013). Factors Related to Sexual Behavior of Nakhonnayok Teenagers. Disease Control Journal, 34(4),: 484-489.
Lertsakornsiri, M. (2015). Factors Associated with Unwanted Adolescent Women Pregnancy in the Perceived of The First Year Students at Saint Louis College. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15 (1): 90-98.
Meesin, R & Mee U Don, F. (2015). Adolescence’s unwanted pregnancies “Causes and Results” A case study of rural areas in Khon Kaen Province. 2nd National conference at Phethcabun Rajabhat University “Research for Local Development”. Phethcabun Rajabhat University (766-771).
Nakhon Phanom Provincial Office, Strategy for Provincial Development. (2016). Development Plan Sakon Nakhon 4 years. 2018 – 2021. Nakhon Phanom Province. Nakhon Phanom
Patklai, M & Pumprawai.A & Pechmane, S. (2016). Experiences of Pregnancy and Parenting of Adolescents in Kanchanadit District, Suratthani Province. Community Health Development Quarterly Khon Kean University, 4(1): 21-32.
Saengchalin, P. & Srisuriyawet, R. & Homsin, P.(2011). Protection Factors of Risky Behaviors among Female Students at Secondary Schools in Pathum Thani Province.The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 19 (Additional Issue 1): 11-22.
Sarajarat, S. (2010). The study of causes and problems in Adolescent Mothers: obstetrician, Rajavithi Hospital. Master thesis in Nursing Science, Mother and child Nursing, Thammasat University.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-12