การประเมินคุณภาพตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของ โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในประเทศไทย

การประเมินคุณภาพตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของ โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Jarukanya Udanont
  • Sukanya Aimimtham

คำสำคัญ:

คุณภาพตัวชี้วัด; ผลการดำเนินงาน; โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในประเทศไทย การวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัดทั้งในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้  กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน และความถูกต้องของการสร้างมาตรวัด กับโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ 43 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในประเทศไทย หลังจากการตรวจสอบคุณภาพของตัวชี้วัดทั้งในด้านความเหมาะสม (appropriateness) ความเป็นไปได้ (feasibility) และความถูกต้องของการสร้างมาตรวัด (construct validity) พบว่า ตัวชี้วัดทุกตัวมีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทย จำแนกเป็น มิติด้านบริบท (Context) มีจำนวน  3 ตัวชี้วัดหลัก 17 ตัวชี้วัดย่อย มิติด้านปัจจัยนำเข้า (Input) มีจำนวน 4 ตัวชี้วัดหลัก 15 ตัวชี้วัดย่อย มิติด้านกระบวนการ (Process) มีจำนวน 3 ตัวชี้วัดหลัก 12 ตัวชี้วัดย่อย มิติด้านผลผลิต (Product) มีจำนวน 2 ตัวชี้วัดหลัก 9 ตัวชี้วัดย่อย มิติด้านประสิทธิผล (Effectiveness) มีจำนวน 2 ตัวชี้วัดหลัก 9 ตัวชี้วัดย่อย และมิติด้านความยั่งยืน (Sustainability) มีจำนวน 2 ตัวชี้วัดหลัก 15 ตัวชี้วัดย่อย รวมตัวชี้วัดทั้งสิ้น 16 ตัวชี้วัดหลัก 77 ตัวชี้วัดย่อย หลังจากนั้นทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุในโรงเรียน 10 แห่ง แห่งละ 1 คน เพื่อทำการยืนยันและคัดสรรตัวชี้วัดที่มีคุณภาพและความสมบูรณ์ ได้ตัวชี้วัดที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 16 ตัวชี้วัดหลัก 58 ตัวชี้วัดย่อย

คำสำคัญ : คุณภาพตัวชี้วัด; ผลการดำเนินงาน; โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริม
ศักยภาพผู้สูงอายุ.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ.2560. (ออนไลน์)
สืบค้นจาก www.dop.go.th/download/knowledge/th1552463947-147_0.pdf, เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2561.
เดโช แสนภักดี และวิยุทธ์ จำรัสพันธุ์. (2562). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการ
บริหารจัดการระบบดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารปกครอง, 8 (1): 41 – 61.
ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ และคณะ. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุกับการพัฒนาศักยภาพ
ผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร,
14(1), 133-162.
ปิยากร หวังมหาพร. (2555). รูปแบบการจัดการเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
เจ้าพระยา, 1(1), 135-154.
พวงนรินทร์ คำปุก. (2558). ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียน
ผู้สูงอายุ ตำบลหัวง้มอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียน
ผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 25-39.
รัตนะ บัวสนธ์. (2557). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST: มโนทัศน์ที่
คลาดเคลื่อนในการใช้ CIPP and CIPPIEST Evalvation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-14.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการผู้ดูแล
ผู้สูงอายุในครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2560). การถอดบทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรม
ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
สุกัญญา เอมอิ่มธรรม อิมรอน โสะสัน และกณิกนันต์ แสงมหาชัย. (2018). ความ
มั่นคงของมนุษย์ในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารปกครอง, 7 (2): 421 – 448.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่
12. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2540). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษณี กำพร้า และ และสุมิตรา โรจนนิติ. (2561). การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย
การจัดการศึกษาโรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 312-326.
Stufflebeam, D.L., Gullickson, L.A., and Wingate L. (2002). The Spirit of
Consuelo: An Evaluation of KeAkaHo'ona. Kalamazoo: Western Michigan University Evaluation Center.

Stufflebeam, D.L., and Shinkfield, A. (2007). Evaluation Models,
Theories, and Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Translated Thai References

Aimimtham, S., Soksan, I., and Saengmahachai, K. (2019). Human
Security of the Elderly Citizens in Khon Kaen Province.
Governance Journal, 7(2): 421 – 448.
Buason, R. (2014). CIPP and CIPPIEST evaluation models: Mistaken and
precise concepts of applications. Journal of Fine Arts, Research Studies, 5 (2), 7-14.
Chantavanich, S. (1997). Qualitative Data Analysis. Bangkok :
Chulalongkorn University.
Department of Elderly Affairs. (2016). Elderly School Handbook.
Bangkok: Elderly Empowerment Division. [in Thai]
Department of Elderly Affairs. (2017). The situation of Thai elderly in
2017. Retrieved on www.dop.go.th/download/knowledge/th1552463947-147_0.pdf (Accessed when 15 April 2018) [in Thai]
Kamphar, U. and Rojananiti, S. (2018). Development of a Proposed
Policy for Providing Education in Early Childhood School
Prototypes of the Office of Uttaradit Elementary Educational Area 1. Journal of Educational Measurement, 24(2), 312-326.
Khampuk, P. (2015). Stakeholders’ Opinion Toward Setting-up Hua-
ngomSubdistrict Senior Citizen School, Phan District, Chiang Rai Province. Research, Master of Public Administration of Chiang Rai Rajabhat University.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27