การเมืองเรื่องโทษประหารชีวิต
การเมืองเรื่องโทษประหารชีวิต
คำสำคัญ:
การเมือง; โทษประหารชีวิต; สัญญาประชาคมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเหตุผลของรัฐไทยในการชะลอปฏิบัติการประหารชีวิต 2) ศึกษาผลกระทบจากการกลับมาปฏิบัติการประหารชีวิต และ 3) ศึกษาแนวทางปฏิบัติของรัฐไทยหากจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตภายใต้ทฤษฎีสัญญาประชาคม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูล ซึ่งจำแนกเป็น 3 กลุ่ม รวม 26 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล และการสนทนากลุ่ม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้เทคนิค 3 เส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) เหตุผลของรัฐไทยในการชะลอปฏิบัติการประหารชีวิตมาเกือบ 9 ปี เพราะ รัฐไทยดูท่าทีและคล้อยตามกระแสสังคมโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ 2)ผลกระทบจากการที่รัฐไทยได้กลับมาปฏิบัติการประหารชีวิตอีกครั้ง คือ สังคมไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายมีความเคร่งครัด กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ แต่นานาชาติมองว่าประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาเรื่องสิทธิมนุษยชน และ 3) แนวทางปฏิบัติของรัฐไทยหากจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในอนาคต พบว่า สังคมไทยส่วนใหญ่ยังให้การสนับสนุนโทษประหารชีวิตจึงยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยทันทีนั้นยังมิได้ ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความพร้อมจนกว่าสังคมไทยจะเป็นสังคมที่พึงประสงค์โดยรัฐต้องดำเนินการ ดังนี้ 3.1) มีมาตรการเร่งด่วนในการการป้องกันอาชญากรรม และการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ 3.2) มีการเยียวยาเหยื่อหรือผู้เสียหายและผู้ถูกจับหรือถูกฟ้องคดีโดยมิชอบ 3.3) ต้องปรับปรุงพัฒนาทางสังคม การศึกษา วัฒนธรรม ปลูกฝังหลักสิทธิมนุษยชนและสถานภาพทางเศรษฐกิจเพื่อให้เป็นสังคมที่พัฒนา 3.4) การปฏิรูปเรือนจำและการแก้ไข ฟื้นฟูผู้ต้องขังให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างแท้จริง และ 3.5) มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของพลเมืองไทยในเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต
คำสำคัญ : การเมือง; โทษประหารชีวิต; สัญญาประชาคม
Downloads
References
กรมราชทัณฑ์ (2561). การประหารชีวิตอดีต – ปัจจุบัน. (Online).
http://www.corect.go.th/demo/museum/ museum2.html, 27 กุมภาพันธ์ 2561
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (2557). รายงานผลการวิจัยโทษประหารชีวิต
ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ชาย โพธิสิตา.(2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ :
อมรินทร์พริ้นติ้ง
ดวงดาว กีรติกานนท์. (2550). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธา
การพิมพ์ จำกัด
ธัญญรัตน์ ทิวถนอม (2553). กระแสโลกาภิวัตน์และการลงโทษประหารชีวิตในรัฐไทย.
ใน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (บ.ก.), ความรุนแรง ซ่อน/ หาสังคมไทย หนังสือ
รวมบทความวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงในประเทศไทย 6 บทความ. พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน
นัทธี จิตสว่าง. (2542) โทษประหารชีวิตยับยั้งอาชญากรรมได้หรือไม่. จุลสารทัณฑ
วิทยา กรมราชทัณฑ์. 1(2) ; 16-18.
วิภาดา กิตติโกวิท (2555). สัญญาประชาคม หลักแห่งสิทธิทางการเมือง,
ฌอง ฌากส์ รุสโซ : Jean- Jacque Rousseau (ผู้เขียน). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แซ๊ด โปรดักชั่น สตูดิโอ,หจก.
อุกฤษฎ์ แพทย์น้อย.(2529) หลักการที่แท้จริงของทฤษฎีสัญญาประชาคม.
รัฐศาสตร์สาร,12-13 ; 55-75
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล. (2556). รายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการ
ประหารชีวิตในปี 2556. กรุงเทพฯ : แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล.
Translated Thai References
Amnasty International.(2014). Report on Capital Punishment and Death
Penalty Situations in 2014. Bangkok : Amnasty International
Department of Corrections (2019). Death Penalty from past – now.
(online),Retrieved on http://www.corect.go.th/demo/museum/ museum2.html (Accessed When 27 February 2021)
Jitsawang, N. (2000). Can Death Penalty Reduce of Prevent Violent Crime?
Journal of Penology, Department of Corrections , 1 (2) ; 16-18
Keeratinon,D. (2008) Ethics. Bangkok : Dansutakarnpim Company Limited.
Kittikowit, W. (2013) Social Contract : Principles of political Rights ,
Jean-Jeaques Rousseau (writer). Bangkok : Zad Production Studio, Ltd.
National Human Rights Commission - NHRC (2015). Report of Death
Penalty in Thailand. Bangkok: Department of National Human Rights Commission
Phatnoy,U.(1977) The authentic Principles of Social Contract Theory.
Journal of Political Science, 12-13; 55-75
Photisita, Ch. (2014). Scientific and Artistic approaches to Qualitative
Research , Bangkok : Amarin Printing
Theewtanom, T. (2011) Global principles on Death Penalty of Thai
State. Satha-Anun, C. (Editor). Violence Play Hide-and-Seek in Thai society. The Book of 6 Research Aticles about
Violence in Thailand. Bangkok : Matichon Press