การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้าง และจัดตั้งวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในจังหวัดร้อยเอ็ด

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้าง และจัดตั้งวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • Kittaya Sukperm

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน; การจัดตั้งวัด; พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้างและการจัดตั้งวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อำนาจและหน้าที่รวมทั้งการทำงานเชิงบูรณาการขององค์กรภาครัฐและประชาชนที่มีต่อการการสร้างและการจัดตั้งวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และเพื่อเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้างและการจัดตั้งวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept interview) จากบุคลากรในหน่วยงานที่มีอำนาจและหน้าที่ต่อการสร้างและจัดตั้งวัดตามกฎหมาย ได้แก่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด  และสำนักงานจังหวัด รวมทั้งสิ้นจำนวน  5 คน นอกจากนี้ทำการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยพิจารณาผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและจัดตั้งวัดตามกฎหมาย ได้แก่ นักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไวยาวัจกร ผู้ประกอบการ และประชาชน จำนวน 12 คน ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การสร้างและจัดวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในจังหวัดร้อยเอ็ดมีปัญหาในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและการขาดการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานรัฐ จึงควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการสร้างและจัดตั้งวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยสามารถบูรณการการทำงานร่วมกันได้ในจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน; การจัดตั้งวัด; พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง

กฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับ
พระราชทานวิสุงคามสีมา และการย้ายวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา (พ.ศ.2559). ราชกิจจานุเบกษา,134.12ก (27 มกราคม 2560
ถวิลวดี บุรีกุล (2552).พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน : จากอดีตจนถึง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : บริษัท
เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535. ราชกิจจานุเบกษา.
109, 16 ก.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505. ราชกิจจานุเบกษา. 79,115 ก ฉบับพิเศษ (31
ธันวาคม 2505).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ราชกิจจานุเบกษา.134,40 ก. (6 เมษายน 2560).
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (2559). แผนการอุปถัมภ์คุ้มครองศาสนาต่างๆ
ภายใต้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 49/2559
ปีงบประมาณ 2560 – 2564. (ออนไลน์) สืบค้น จาก www.onab.go.th เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2562

Translated Thai References

A. Sangha Act B.E. 2505. Government Gazette. 79,115 A. Special edition
(31 December 1962).
Ministerial regulations on construction, establishment, consolidation,
moving, and dissolution of temples, a process of application for the royal granting to a temple status, relocating an abandoned temple to a temple with monks (2016).
Government Gazette, 134.12 A (27 January 2017).
National Office of Buddhism (2016). Plans for the Protection of Religions
Under the Order 49/2016 of the Head of the National Council for Peace and, Fiscal Years 2017 - 2021. (Online) Retrieved from www.onab.go.th, accessed on 18 October 2019.
Sangha Act and Amendments (Second Sangha Act) B.E. 2535.
Government Gazette. 109, 16
Thawinwadi Burikun (2009). Dynamics of Public Participation: From the Past to the Constitution of the Kingdom of Thailand B. E.
2550. Bangkok: A.P. Graphic Design and Printing Company Limited.
The Constitution of the Kingdom of Thailand. Government Gazette.
134,40 A. (6 April 2017).

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27