เงื่อนไขที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2560

เงื่อนไขที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2560

ผู้แต่ง

  • Jariya Chatasuwatjananon
  • Viyouth Chamruspanth

คำสำคัญ:

ความร่วมมือ;  เขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขง; ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยระหว่าง พ.ศ.2556-2560  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เจาะลึกซึ่งจะทำการสัมภาษณ์รายบุคคล และสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  ซึ่งมีจำนวนรวม 48 คน  มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า  เงื่อนไขที่นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทั้งหมด  7 ประการ ได้แก่ 1) โครงสร้างองค์การ  2) วัฒนธรรมองค์การ  3) ผู้บริหาร/ผู้นำ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร 5) ผลกระทบของนโยบาย 6) บทบาทของภาควิชาการ และ 7) การสื่อสารขององค์กรนั้น แต่ละเงื่อนไขล้วนมีความสัมพันธ์กับการบริหารความร่วมมือขององค์กร อีกทั้งในแต่ละเงื่อนไขดังกล่าวยังมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน  หากแต่ระดับประสิทธิผลความร่วมมือขององค์กรในดำเนินงานบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นยังไม่เห็นเด่นชัด ที่เป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการปรับตัว การจัดการองค์กร และการจัดการความรู้ 

คำสำคัญ: ความร่วมมือ;  เขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขง; ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

References

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. (2556). เอกสารประกอบการ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ครั้งที่
1/2556 เรื่อง การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดและท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนครแม่สอด. 18 กันยายน 2556 ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล.
เดชรัต สุขกำเนิด. (2559). การกำหนดนโยบายและเป้าหมายเศรษฐกิจพิเศษ. ใน
นิตยสารสารคดี, 376 (เมษายน 2559)
ธนโชติ โชติบุญยศักดิ์, สัมภาษณ์, 18 กุมภาพันธ์ 2562, ที่สำนักงานหอการค้าจังหวัด
มุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
นพดล ไพฑูรย์, สัมภาษณ์, 12กุมภาพันธ์ 2562, ที่ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2556. (2556, 24
กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา.
รุ่งเพชร กันตะบุตร, สัมภาษณ์, 12 กุมภาพันธ์ 2562, ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด
มุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2553). “การบริหารปกครองกับความสัมพันธ์ระหว่าง
หน่วยงานของรัฐ”, ใน การบริหารปกครองสาธารณะ (Public Governance): การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. อัมพร ธำรงลักษณ์ บก. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2557). รายงานสรุปเชิงนโยบาย
โครงการวิจัยเรื่อง “แนวทางและมาตรการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่แนวชายแดนของไทย”. กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
สมนาม เหล่าเกียรติ, สัมภาษณ์, 26 มกราคม 2562, ที่โรงแรม อาร์-โฟโต้ โฮเทล
อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และ
กระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อภิชัย พันธเสน และคณะ (2550). แนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
อุกฤษฏ์ ศรีพิเมือง, สัมภาษณ์, 18 กุมภาพันธ์ 2562, ที่เทศบาลตำบลคำอาฮวน
อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
Agranoff, Robert and Michael McGuire (2006). Collaborative Public
Management: New Strategies for Local Government. Washington, DC: Georgetown University Press.
David L. Weimer, Aidan R. Vining, (2005) Policy Analysis : Concepts and
Practice. Upper Saddle River, NJ ; [Harlow] : Pearson Prentice
Hall.
Dye, T. R. (1984). Understanding Public Policy. 5th.ed. Englewood Cliffs,
New Jersey: Prentice-Hill, Inc.
Lasswell, H. D. (1963). The Future of Political Science. New York:
Sabatier, P. A. & Mazmanian, D. A. (1981). “The Implementation of Public
Policy: A Framework of Analysis,” in Mazmanian D.A.& Sabatier P.A.Swappa, Sinha.(2007). Comparative Analysis of FDI in China and India: Can Laggard learn from Leaders?. Doctoral dissertations, Gate University.
Vangen, S., & Huxham, C. (2010). Introducing the Theory of
Collaborative Advantage. In S. Osborne (Ed.), New Public
Governance: Emerging perspectives on theory and principle of public governance (pp. 163-184). New York: Routledge.

Translated Thai References

International Institute for Trade and Development. (2014). Policy
Summary Research Project report Subject "Guidelines and Measures for the Development of Special Economic Zones in the Border Area Of Thailand ". Bangkok: International Institute for Trade and Development
Luengpraphat, W. (2010). "Administration and Relations between
Government Agencies", Public Governance: Public Administration in the 21st Century. Amporn Thamronglak, Bangkok.: Textbook and Publication Project, Faculty of Political Science. Thammasat University.
Phantasen, A. and Others (2007). Guidelines for Cooperation with
Government, Private and Public Sectors in Prevention and Suppression of Corruption. Nonthaburi: Office of the National Counter Corruption Commission.
Policy Committee of Special Economic Development Zone. (2013).
Document for board meeting Policies of the Special Economic Development Zone (KorPhorPor.) No. 1/2013 on the Establishment of Mae Sot Special Economic Zone and Local Special Forms in Nakhon Mae Sot. 18 September 2013 at Thai Khu Fa Building, Government House
Regulations of the Office of the Prime Minister on Special Economic
Development Zones 2013. (2013, 24 July). Government Gazette.
Sukkumnerd, D. (2016). Policy formulation and special economic
goals. in Nonfiction Magazine, 376 (April 2016)
Thamrongthanyawong, S. (2006). Public Policy: Concepts, Analysis and
Processes. 6thedition, Bangkok: The National Institute of
Development Administration.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)