แนวทางการขับเคลื่อนสำนึกความเป็นพลเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
พลเมือง, การมีส่วนร่วม, การบริหารท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นพลเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตแบบมีส่วนร่วม ประชากร ในการศึกษาครั้งนี้คืออาสาสมัครร่วมติดตามตรวจสอบการบริหารงาน ของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน 72 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball) ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีการตื่นตัว ตระหนักถึงสิทธิและบทบาทหน้าที่ทางการเมือง แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนา ท้องถิ่น ประชาชนในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีรูปแบบพลเมือง 3 รูปแบบ คือ (1) การให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรม (2) การให้ความสำคัญเกี่ยวกับชุมชน (3) การให้ความสำคัญเกี่ยวกับอิสรภาพความก้าวหน้าทันสมัยในชุมชน สำหรับแนวทางทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองให้เกิด ความเข้มแข็ง โดยสร้างการบูรณาการแต่ละรูปแบบเข้าด้วยกัน เพราะแต่ละรูปแบบมีความสัมพันธ์กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สำหรับข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้กำหนดนโยบายระดับชาติ ควรคำนึงถึงวิถีวัฒนธรรมของท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น โดยเริ่มจากการให้ ความสำคัญเกี่ยวกับประชาชนและชุมชน โดยเน้นให้อิสรภาพความก้าวหน้าทันสมัยในชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มระดับความรู้ของประชาชนในการเข้าใกล้ความเป็นพลเมืองของท้องถิ่นและระดับชาติ และ ผู้นำระดับท้องถิ่น ควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ในระดับปัจเจกบุคคล ระดับสังคม ระดับเครือข่ายและระดับสากล เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมการเป็นพลเมืองของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป
Downloads
References
กตัญญู แก้วหานาม และพิมพ์ลิขิต แก้วหานาม (2560).การต่อต้านการทุจริตของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบการบริหารงาน
(อสต.) กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมือง
บัวขาว. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 10 (2), 17 – 43.
ถวิลวดี บุรีกุล และโรเบิร์ต บี อัลบริททัน. (2543). ความต่อเนื่องของ
ประชาธิปไตยในประเทศไทย: การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 2543.
ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการสมาคมรัฐศาสตร์
และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย 8-10 ธันวาคม 2543, นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2547). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
และความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลและองค์การอิสระ. นนทบุรี : สถาบัน พระปกเกล้า.
ถวิลวดีบุรีกุล. (2547). แนวทางการประเมินการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ชุมชนในบริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น : สังเคราะห์จากบทเรียน 3 กรณีศึกษาสภาพัฒนาหมู่บ้านหนองโก เครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน องค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า (สนับสนุนโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP).
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). ทฤษฎีและแนวคิด : การปกครองท้องถิ่นกับ
การบริหารจัดการท้องถิ่น(ภาคแรก). กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์
คบไฟ.
Abowitz, K. K., & Harnish, J., (2006). Review of Educational Research,
76 (4), 653-690.
Anthony R.Brunello. (1996). Citizenship Rights and Responsibilities. In
International Encyclopedia of Government and Politics 1.
Bryan S. Turner (2007). Citizenship studies: A general theory. Pages
5-18
Elliott, A. (2002). Psychoanalytic Theory an Introduction. Durham:
Duke University Press.
Marshall, T.H. (1950). Citizenship and Social Class. Cambridge :
Cambridge University Press.
Translated Thai References
Burikun,K., and Robert, B., Albrightton. (2000). The Continuation of
Democracy in Thailand: 2000 Senator Election. In the Academic Conference of the Political Science and Public Administration of Thailand, 8-10 December 2000, Nonthaburi: King Prajadhipok Institute. 90
Burikun, K. (2004). People's political participation and opinions
towards Government work and independent organizations. Nonthaburi: King Prajadhipok's Institute.
Burikun, K. (2004). (2004). Guidelines for evaluating community
participation in the context of Decentralization to Power: Synthesized from Lesson 3: A Case Study of Nong Ko Village Development Council, Upper Mae Ping Basin Community Forest Network Pattani Local Fishery Community Organization. Bangkok: King Prajadhipok's Institute (Supported by the United Nations Development Program (UNDP).
Chareonmuang, T. (2008). Theory and concepts: local government
and local management (first part). Bangkok: Torch Printing Project.
Kaewhanam, K.,and Kaewhanam, P. (2060). Anti-Corruption in Local
Administration Organizations as Learnt from Volunteer Examiners: A Comparative Case Study of Kalasin Town Municipality and Bua Khao Town Municipality . Local Administration Journal, 9 (3):17 – 43.