การกำกับติดตามการดำเนินงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
อาสาสมัคร, ผู้สูงอายุ, การกำกับติดตามบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปในการกำกับติดตามการดำเนินงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) โดยองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาเงื่อนไขที่มีความเกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามการดำเนินงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และ 3) หาแนวทางในการพัฒนาการกำกับติดตามการดำเนินงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งการศึกษา เรื่อง การกำกับติดตามการดำเนินงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 140 คน โดยมีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามและได้มีการตั้งคำถามปลายเปิดเสริมไว้ในทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปในการกำกับติดตามการดำเนินงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่นทั้ง 40 แห่งนั้น มีการกำกับติดตามในระดับที่น้อยทุกด้าน ทั้งด้านการวางแผนกำกับติดตามการดำเนินงานของ อผส. การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลการติดตามการดำเนินงานของ อผส. และการรายงานผลการติดตามการดำเนินงานของ อผส. 2) เงื่อนไขที่มีความเกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามการดำเนินงานของ อผส. ประกอบด้วย 2 เงื่อนไข คือ (1) เงื่อนไขภายใน ได้แก่ ผู้นำ งบประมาณ บุคลากร ทักษะ และบทบาทหน้าที่ (2) เงื่อนไขภายนอก ได้แก่ ความร่วมมือ กฎระเบียบ องค์ความรู้และทักษะ และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก และ 3) แนวทางในการพัฒนาการกำกับติดตามการดำเนินงานของ อผส. ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ (1) แนวทางที่สามารถดำเนินการเองได้ ได้แก่ การวางแผน และการประชาสัมพันธ์ (2) แนวทางที่ต้องร่วมทำกับหน่วยงานอื่น ได้แก่ การวางแผน การประชาสัมพันธ์ และการสร้างความร่วมมือ และ (3) แนวทางที่ต้องให้ส่วนกลางดำเนินการให้ ได้แก่ การออกกฎหมาย และงบประมาณ
Downloads
References
จารุกัญญา อุดานนท์ และสุกัญญา เอมอิ่มธรรม. (2562). การประเมินคุณภาพตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบในประเทศไทย. วารสารการบริหารปกครอง 8 (2): 118 - 154
เดโช แสนภักดี และวิยุทธ์ จำรัสพันธ์. (2562). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการ
บริหารจัดการระบบดูแล และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารปกครอง 8 (1): 40 - 61
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. ราชกิจจากนุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก หน้า 11 วันที่ 2 ธันวาคม 2537.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธา
การพิมพ์จำกัด.
ภูเบธ มานะสุคนธ์. (2557). แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กรณีศึกษาอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านพื้นที่จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มติคณะรัฐมนตรี. (2550). นโยบายด้านการคุ้มครองสถานภาพผู้สูงอายุโดยการขยายผลการดำเนินงานโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน. สืบค้นเมื่อ30 ธันวาคม 2560, จาก http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2550-04-10.html.
วรรณลักษณ์ เมียนเกิด. (2559). รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ระบบการดูแลทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: เจ ปริ้น.
วรเวศม์ สุวรรณระตา และคณะ. (2557). การประเมินผลการดำเนินงานโครงการขยายผลอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.). วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาวี กฤษณะภูติ. (2545). สวัสดิการสังคม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ศศิพร เลิศรัตนพันธุ์. (2557). ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดตากต่อการจัดบริการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.). วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2541). คู่มือการติดตามและประเมินโครงการพัฒนาในระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555). โครงการวิจัยการประมาณการงบประมาณสำหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน. รายงานวิจัย.
เอื้อมพร พิชัยสนิธ. (2552). นโยบายเศรษฐกิจว่าด้วยสวัสดิการสังคม: บทวิเคราะห์ประสบการณ์ในประเทศตะวันตก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Curry, N., Holder, H. and Patterson, L. (2013). Caring for an ageing population: Points to consider from reform in Japan. Nuffield Trust.
Translated Thai References
Cabinet Resolutions. (2007). Policy on the protection of elderly health by expanding the performance of elderly Homecare Volunteers. Retrieved December 30, 2017, from http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2550-04-10.html.
Fongsi, P. (2010). Project Assessment techniques. Bangkok: Dan Suttha Printing Co., Ltd.
Grisanaputi, W. (2002). Social welfare. Khon Kaen: Klungnana Vitthaya Printing.
Institute for Population and Social Research Mahidol University. (2016). Situation of the Thai Elderly 2015. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.
Kanjanawasee, S. & et. al. (1998). A Guide for monitoring and evaluating development projects at the provincial level. Bangkok: Damrong Rajanuphap Institute.
Lertrattanapan, S. (2014). The Readiness of Tak Province Local Administration to the Service Management of the Elderly Home Caregiver Volunteers. A Thesis of Master Degree of Social Welfare Administration, Faculty of Social Administration Thammasat University.
Manasukon, P. (2014). Guideline on Enhancing Operation of Homecare Volunteers: A Case Study of Homecare Volunteers of Lampang Province. A Thesis of Master Degree of Social Welfare Administration, Faculty of Social Administration Thammasat University.
Miankerd, W. (2016). A Research Report of Social Care System for Elderly. Bangkok: J. Print.
Phijaisanit, E. (2009). Economic Policy on Social Welfare: Experience analysis in Western countries . Bangkok: Thammasat University Printing.
Saenpukdee, D. and Chamruspanth, V. (2019). Factors for the
Achievement of the Geriatric’s Management System and
Geriatric’s Life Quality Promotion in Nakhon Ratchasima, Governance Journal 8 (1): 40- 61
Suwanrada, W. & et. al. (2014). Evaluation of the Replication Project of the elderly Homecare Volunteers. College of Population Studies, Chulalongkorn University
Tambon Council and Tambon Administrative Authority Act, B.E. 2537. Royal Thai Government Gazette, Rule Number 111 Selection Number 53 A. 1994 December 2.
Thailand Development Research Institute. (2012). Research project, budget estimates for the elderly and sources of money. Research Report.
Udanont, J. and Aimimtham, S. (2019). Quality Evaluation of Performance
Indicators of the Elderly School Prototype in Thailand, Governance Journal 8 (2): 115 - 154