บทบาทนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นกับการจัดเก็บรายได้ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

บทบาทนโยบาย, ผู้บริหารท้องถิ่น, การจัดเก็บรายได้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาบทบาทนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางในการปฏิบัติ และวิธีการในการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาข้อมูลผ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงปฐมภูมิและทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มข้าราชการประจำ การวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาอธิบายถึงสาเหตุและผลของตัวแปรต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญ นำผลข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์ในรูปแบบการบรรยายเชิงพรรณนา ผลจากการศึกษาพบว่า บทบาทนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นกับการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาเป็นการดำเนินนโยบายเชิงรุกในเชิงพื้นที่เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะการบริหารการจัดเก็บรายได้ของผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้วางนโยบายในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน คือ “การปฏิบัติงานนั้นต้องกระทำอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ” ทั้งนี้การสร้างความพยายามในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมฯ มีการเตรียมความพร้อมในด้านข้อกฎหมาย ด้านบริหารการจัดเก็บภาษี ด้านเจ้าหน้าที่ผู้จัดเก็บภาษี และด้านผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือชำระภาษี ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมามีแนวทางในการปฏิบัติ และวิธีการในการจัดเก็บรายได้ โดยผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการในการจัดเก็บภาษีและมีแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ชัดเจน มีขั้นตอนถูกต้อง ครบถ้วน

References

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2557). การคลังท้องถิ่น: รวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
พาเกียรติ สมานบุตร และคณะ. (2553). คู่มือกลางสำหรับการพัฒนาความสามารถขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีขีดความสามารถต่างกันในการจัดเก็บภาษีน้ำมัน. โครงการวิจัยและพัฒนาเรื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บภาษีน้ำมันเอง. สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
พาเกียรติ สมานบุตร และ คณะ (2553). โครงการวิจัยและพัฒนาเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บภาษียาสูบเอง. สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). คู่มือการเสริมสร้างสุขภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2554). การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น: คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2554). วิถีใหม่การพัฒนารายรับท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สุธิดา อรรคนิมาตย์ และจีรวัฒน์ เจริญสุข. (2557). ปัญหาการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2): 314-328.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา, สำนักปลัด. (2562). อบจ.โคราช เชิญผู้ค้าน้ำมัน-ก๊าซปิโตรเลียม เสริมความรู้การชำระภาษีให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562, จาก http://www.koratpao.go.th/eventShow.php?id=949
อุดม ทุมโฆสิต. (2545). การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์.
Achakorn Wongpreedee. (2012). Local Fiscal Problems in Thailand: The Perceptions of Municipal Mayors. Journal of Public and Private Management, 2012.
Darby, J., A. Muscatelli and G. Roy. (2003). Fiscal decentralization in Europe: A review of recentexperience. in J. Monnesland (ed.), Regional public finance: European research in regional science, 13, London: Pion.
Ladd, Helen F., and John Yinger. (1989). America’s Ailing Cities: Fiscal
Health and The Design of UrbanPolicy. Baltimore, M.D.: Johns Hopkins University Press.
Mikesell, John L. (1998). “Tax administration: The link between tax law and
tax collections.” In Fred Thompson and Mark T. Green, eds., Handbook of public finance. New York: Marcel Dekker.
Miller, Gerald J. (2001). Fiscal Health in New Jersey’s Largest Cities.
New York, N.J.: Cornwall Center.
Sudhipongpracha, T. and Wongpredee, A. (2012). Public Professionalism in
Local Government Setting: A Comparative Analysis of Thai and Illinois Municipal Chief Administrators’ Perceptions of Public Professionalism. Journal of Public Administration, 139-182.

Translated Thai References
Akkanimart, S and Charoensuk, C. (2014). The Problems of Revenue Collection
of Bung Klua Sub–district Administrative Organization, Selaphum District, Roi Et Province. Journal of Politics and Governance, 4(2): 314-328.
Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization, Office of the
Permanent Secretary. (2019). Korat Provincial Administrative Organization, invites oil-gas and petroleum traders Strengthen knowledge of tax payments in the same direction. Retrieved August 15, 2019, from
http://www.koratpao.go.th/eventShow.php?id=949
Krueathep, W. (2007). Handbook of fiscal health promotion of local
government organizations. Bangkok: College of Local Administration Development King Prajadhipok's Institute.
Krueathep, W. (2010). Financial Analysis of Local Administrative
Organizations: A Guide for Local Administrators in the New Era. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Patamasiriwat, D. (2014). Local Finance: Collection of Research Articles
for Local Empowerment. (7th edition). Bangkok: P.A. Living.
Pakiiat Samanbut et al. (2010). Central Manual for the Development of
Competence of Provincial Administrative Organizations with Different Capabilities in Oil Taxation. Research and Development Project Promoting and supporting the Provincial Administrative Organization to collect the oil tax itself. Supported by the Thailand Science Research and Innovation (TSRI).
Pakiat Samanbut et al. (2010). Research and Development Project on
promoting and supporting the Provincial Administrative Organization to collect tobacco tax by themselves. Supported by the Thailand Science Research and Innovation (TSRI).
Udom Thumkosit. (2002). Analysis of the financial status of the local
government organization. Bangkok: Hor Rattanachai Printing.
Waranyuwattana, S. (2011). New ways of developing local income in
Thailand. (2nd edition). Nonthaburi: King Prajadhipok's Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)